ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตยืนยันบัตรเครดิตที่ใช้ลายเซ็นยืนยันตัวตน ยังคงใช้งานได้ในยุโรป

ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกระแสข่าวเกี่ยวกับการจำกัดการใช้บัตรเครดิตที่ไม่ใช่บัตรเครดิตแบบชิปและระบบ PIN (Chip & PIN) ในการซื้อสินค้าและใช้บริการในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area “EEA”) ว่า บัตรเครดิตที่ออกโดยผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ใช้ลายเซ็นในการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรยังคงสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศได้ตามปกติ

นายฐากร ปิยะพันธ์ ในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า “ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตขอชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า บัตรเครดิตที่ออกโดยผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ใช้ลายเซ็นในการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตร ยังคงสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศได้ตามปกติ เนื่องจากทาง Credit Card Network มีข้อกำหนดที่ร้านค้าต้องรับบัตรเครดิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตแบบชิป หรือแบบแถบแม่เหล็ก หรือแบบ Contactless ทั้งประเภทการยืนยันตัวตนโดยใช้ลายเซ็น หรือ PIN ดังนั้น ผู้ให้บริการร้านค้ารับบัตร (Acquirer) จะต้องพัฒนาระบบที่เครื่องรับบัตรให้สามารถอ่านค่าได้ทุกประเภท หากมีการนำบัตรเครดิตที่ไม่ใช้ระบบ PIN ไปใช้ เครื่องรับบัตรจะขึ้นหน้าจอให้เป็นระบบลายเซ็น ซึ่งผู้ถือบัตรเครดิตสามารถใช้งานได้ตามปกติ ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตจึงขอให้ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตมั่นใจว่า ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตมีระบบและมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานสากล โดยในปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยหลายสถาบัน ได้พัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้บัตรเครดิตที่เครื่องรับบัตรซึ่งเป็นระบบ PIN โดยผู้ถือบัตรเครดิตสามารถขอ หรือตั้งรหัส PIN เพื่อรองรับการใช้จ่ายในต่างประเทศได้เช่นกัน  หากผู้ถือบัตรเครดิตมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดจากสถาบันผู้ออกบัตรของท่านได้”

 

 

Written By
More from pp
เอส เอฟ ร่วมกับ จีดีเอช ห้าห้าเก้า ชวนคนพิการมาพิสูจน์ความหลอน ดู “บ้านเช่า..บูชายัญ” ราคาพิเศษเริ่มต้น 100 บาท ที่ เอส เอฟ ทุกสาขาทั่วประเทศ !!!
โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ชวนมาพิสูจน์ความหลอนสุดระทึกให้คนพิการทั่วประเทศสามารถรับชมภาพยนตร์ “บ้านเช่า..บูชายัญ” ในโรงภาพยนตร์ราคาพิเศษเริ่มต้น 100...
Read More
0 replies on “ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตยืนยันบัตรเครดิตที่ใช้ลายเซ็นยืนยันตัวตน ยังคงใช้งานได้ในยุโรป”