พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พร้อมแจ้งประชาชน 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ให้ทราบการปริมาณน้ำอย่างต่อเนื่อง เตรียมการรองรับเรื่องน้ำสำหรับด้านการเกษตร การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และการประมงในพื้นที่

3 ส.ค. 63 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 2/2563 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. เข้าร่วมประชุมด้วย

ที่ประชุมรับทราบสถนการณ์น้ำแม่น้ำโขงและการคาดการณ์สถานการณ์ และผลการศึกษาโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 และการดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดย รองนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการรองรับเรื่องน้ำสำหรับด้านการเกษตร การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และการประมงในพื้นที่ รวมทั้งการแจ้งข้อมูลสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงและการคาดการณ์สถานการณ์ให้ประชาชนในพื้นริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัดที่ได้รับทราบ

ทั้งนี้ให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาหาแนวทางขับเคลื่อนแผนการรับมือถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเสนอแนะมีให้ตั้งคณะทำงานติดตามศึกษาความเคลื่อนไหวสถานการณ์แม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง และขอบคุณคณะกรรมการทุกคนที่ได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรียังมอบแนวทางการดำเนินงานของฝ่ายไทย ที่เกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งหน่วยงานทั้งภาคพลังงาน และสิ่งแวดล้อม จะต้องเดินไปในทิศทางเดียวกันให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาประเทศและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด รวมทั้งขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ประเทศชาติและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วย



Written By
More from pp
หน้าตา..ประชาธิปไตย?
ผสมโรง สันต์ สะตอแมน “ทูตทะเล”..ทำหน้าที่อะไร? หลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นในใจ หลังจากมีข่าว สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ได้มอบหมายให้นางเอกหน้าหวาน “แพนเค้ก” เขมนิจ จามิกรณ์ ทำหน้าที่เป็น...
Read More
0 replies on “พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พร้อมแจ้งประชาชน 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ให้ทราบการปริมาณน้ำอย่างต่อเนื่อง เตรียมการรองรับเรื่องน้ำสำหรับด้านการเกษตร การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และการประมงในพื้นที่”