‘เฮลท์ตี้บอท’ หุ่นยนต์ขนส่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ในสภาวะที่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาด อย่างเช่น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ วิธีหนึ่งที่ช่วยลดการติดเชื้อได้คือการเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย การเลือกใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์อัจฉริยะ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องระบบการขนส่งในโรงพยาบาล เป็นหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเลี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการสัมผัสหรือติดเชื้อได้นายวิฑูรย์ อุทัยกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางไกล บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ หรือ เอ็นเฮลท์ ผู้ให้บริการด้านการสนับสนุนทางด้านการแพทย์และธุรกิจโรงพยาบาล เปิดเผยว่า หุ่นยนต์เฮลท์ตี้บอท หุ่นยนต์บริการด้านการขนส่งสำหรับโรงพยาบาล สามารถช่วยอำนวยความสะดวกกับบุคลากรทางการแพทย์ในการทำหน้าที่ส่งยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม รวมถึงสิ่งของอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงได้

“เฮลท์ตี้บอท สามารถให้ความปลอดภัยต่อบุคคลากรการแพทย์ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จึงเชื่อว่า เฮลท์ตี้บอท จะตอบโจทย์ต่ออุตสาหกรรมทางการแพทย์มาก เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าไปถึงจุดที่มีข้อจำกัด หรือไม่สามารถเข้าไปถึงตัวผู้ป่วยแบบระยะประชิดได้”

เอ็นเฮลท์ ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านการแพทย์ทางไกล หรือ เทเลเมดิซีน กว่า 7 ปี และมีบุคลากรทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์มากกว่า 300 คน ได้เล็งเห็นประโยชน์และต่อยอดด้วยการพัฒนาระบบเทเลเมดิซีนให้กับหุ่นยนต์เฮลท์ตี้บอท เพิ่มความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย ใส่โปรแกรมสื่อสารพูดคุยผ่านจอมอนิเตอร์ ที่ติดตั้งไว้บนตัวหุ่นยนต์ ควบคุมโดยเครือข่ายสัญญานอินเตอร์เน็ต

ปัจจุบัน เฮลท์ตี้บอท ทดลองให้บริการกับโรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ บีดีเอ็มเอส อย่าง โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลนอกเครืออย่าง โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โดยบริษัทฯ พร้อมให้บริการสนับสนุน นวัตกรรมหุ่นยนต์ เฮลท์ตี้บอท ให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ หากสนใจนำเฮลท์ตี้บอท ไปทดลองให้บริการ สามารถติดต่อขอได้ที่ โทร. 0-2762-4000

Written By
More from pp
โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง…โรคที่ควรรู้
โดย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์              ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์  ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคผิวหนังอีกชนิดหนึ่ง  โรคนี้ไม่มีชื่อในภาษาไทย จึงเรียกทับศัพท์ว่า “โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง” (cutaneous amyloidosis) จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดจากโปรตีนบางชนิด มีการพับตัวผิดปรกติ...
Read More
0 replies on “‘เฮลท์ตี้บอท’ หุ่นยนต์ขนส่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ”