ทส. แถลงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุ 150 ล้านปี

11​ พ.ย. 63​ เวลา 11.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าวการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป”

ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รศ.ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และดร.พรเพ็ญ  จันทสิทธิ์ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี ร่วมแถลง และมีคณะผู้บริหาร ทส. และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม 101 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายวราวุธ ศิลปอาชา เปิดเผยว่า  “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” จัดเป็นปลาโบราณที่พบมาตั้งแต่ 417 ล้านปี มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถหายใจด้วยปอดร่วมกับการหายใจด้วยเหงือก ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดที่พบครั้งนี้ ประกอบด้วย ชิ้นส่วนของกะโหลกและแผ่นฟันซึ่งคาดว่าเป็นชิ้นส่วนจากปลาตัวเดียวกัน มีอายุประมาณ 150 ล้านปี โดยสกุลนี้มีการพบในประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และประเทศไทยเท่านั้น

ดังนั้น การค้นพบครั้งนี้ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก

ผลการศึกษาวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ปลา Dr.Lionel Cavin พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเจนีวา ร่วมกับ ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา และศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชำนาญการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี

พบว่า รูปสัณฐานของส่วนกะโหลกและแผ่นฟันปลาปอดที่พบ จัดอยู่ในสกุล เฟอกาโนเซอราโตดัส แต่มีความแตกต่างจากชนิดอื่น จึงได้ตั้งชื่อปลาปอด ที่พบในแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยนี้ เป็นปลาปอดชนิดใหม่ของโลก นามว่า “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” (Ferganoceratodus annekempae) ซึ่งชื่อชนิดตั้งเป็นเกียรติแก่ Dr. Anne Kemp (ดร.แอน เคมป์) ผู้เชี่ยวชาญปลาปอดของโลก



Written By
More from pp
คีย์แมนขับเคลื่อนภารกิจรัฐบาลด้วยใจ
“ใช้ใจบันดาลแรง ไม่ใช่ใช้แรงบันดาลใจ” ภารกิจล้นมือ “พล.อ.ประวิตร” พึ่งพาได้ทุกมิติ คีย์แมนคนสำคัญในการบริหารประเทศ
Read More
0 replies on “ทส. แถลงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุ 150 ล้านปี”