“วัคซีนเคลื่อนที่” สู่ความหวัง

คนไทยและคนทั้งโลกเริ่มมีความหวังขึ้นมาใหม่อีกครั้ง…
หวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม หวังว่าจะสามารถตั้งตัวและเดินหน้าต่อไปได้ หวังว่าจะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาหลังจากนี้ เพราะหวังว่าไวรัสโควิด-19 จะหายไป
จากความหวังเหล่านี้และอีกหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นบนความคิดของคนในสังคม
เพราะความก้าวหน้าและการพัฒนาทางด้านการแพทย์สามารถเอาชนะคิดค้นวัคซีนที่สามารถเอาชนะเจ้าไวรัสตัวร้ายนี้ได้สักที

ทีนี้เราจะได้เห็นทุกอย่างกลับมาโลดแล่นในสังคมเหมือนเดิมแล้ว
แต่ผลเสียหรือผลกระทบอะไรที่เกิดขึ้นมาในช่วงนี้ก็ต้องค่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ

สิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้ แม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่จะทำยังไงให้คนในสังคมไทยได้ฉีด?

แผนปูพรมฉีควัคซีนของภาครัฐออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเป็นอันดับต้นๆ ให้สังคมไทยเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้!

แต่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ และความโกลาหลแบบนี้ ก็อาจจะมีบ้างที่ช้าไม่ทันใจใครหลายๆ คน
บางทีการเข้ามาช่วยเหลือของหน่วยงานเอกชนก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเช่นกัน…

หน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุก ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นหนึ่งในหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เคลื่อนที่ (Mobile Vaccine Unit) จึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจ โดยมีหน่วยฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชนพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ทั้งในเขตหลักสี่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดินแดง และเขตคลองเตย

เพราะช่วงนี้โควิด-19 แพร่กระจายจนเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ เพียบ ไม่ว่าจะเป็นตลาดนัด โรงเรียน บริษัท หรือแม้แต่แคมป์คนงานก่อสร้าง การที่จะมีหน่วยบริการแบบนี้เข้ามาช่วยงานก็สามารถตอบโจทย์แผนการฉีดวัคซีนของประเทศอีกทางหนึ่ง แถมยังแก้ไขปัญหาการติดเชื้อคลัสเตอร์ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ตรงจุดและรวดเร็วอีกด้วย

ต้องเข้าใจว่าโควิด-19 ติดได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ป่วย ผู้พิการในชุมชน รวมทั้งกลุ่มแรงงานในพื้นที่ที่อาจจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยากหรือมีความลำบากในการลงทะเบียนรับวัคซีนก็จะได้รับผลประโยชน์จากบริการนี้แน่นอน

แถมยังพนักงานจิตอาสาจาก ปตท. มาทำงานกับหน่วยบริการ ช่วยบริหารจัดการคิวผู้เข้ารับวัคซีน ประสานงาน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์

พร้อมสนับสนุนอาหาร น้ำดื่มแก่เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยต่างๆ อีกทั้งจัดเตรียมสินค้าวิสาหกิจชุมชนจากโครงการ ‘ชุมชนยิ้มได้’ ที่ ปตท. ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคเกษตรกร มอบให้กับประชาชนที่มาฉีดวัคซีนอีกด้วย

นี่เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ ปตท. ในช่วยเหลือชุมชนและเกษตรกรไทยทั่วประเทศ ที่ประสบกับปัญหาในการจัดจำหน่ายและขายสินค้าได้น้อยลงจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19

โดยเข้าไปสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนารูปแบบสินค้าให้มีมาตรฐาน และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายสินค้าผ่านชุมชนออนไลน์ เพื่อให้สินค้าเข้าถึงมือผู้บริโภคได้ง่ายและสะดวกขึ้น
แบบนี้ช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐได้เยอะเหมือนกันนะ

เห็นว่าที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตโควิด-19 นี้ กลุ่ม ปตท. ก็ไม่ได้อยู่เฉย
สนับสนุนทุกภาคส่วนในการรับมือภาวะวิกฤตจนถึงปัจจุบัน เป็นเงินกว่า 1,100 ล้านบาท!

ทั้งระดมสรรพกำลังความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท. ในการสนับสนุนงานวิจัย ทั้งชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ทั้งหมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อความดันบวก (PAPR)
และยังสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาชุดตรวจคัดกรองและการวิจัยพัฒนาวัคซีน Chula-Cov 19 อีกด้วย

อีกทั้งจัดตั้งโครงการลมหายใจเดียวกัน มูลค่า 200 ล้านบาท โดยเร่งจัดหาเครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ขั้นวิกฤต

ก็หวังว่าการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือของ ปตท. ครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยดูแลประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่จำเป็นต้องเข้าถึงวัคซีนอย่างเร่งด่วน

และทุกความร่วมมือนั้นคงจะนำไปสู่ความหวังให้เป็นจริงได้ในไม่ช้า

Written By
More from pp
ครม.อนุมัติจ่ายค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ รอบที่ 3 จำนวน 433 แปลง เนื้อที่ 765 ไร่ วงเงิน 52.34 ล้านบาท
11 ตุลาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติให้มีการจ่ายค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
Read More
0 replies on ““วัคซีนเคลื่อนที่” สู่ความหวัง”