เนสท์เล่ เผยสารพันเรื่องชวนคิดเมื่อชีวิตต้องติดบ้าน แนะนำเคล็ดลับสร้างสุขภาพดี ส่งเสริมความสุขในบ้านผ่านกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน พร้อมเปิดช่องทางให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาและโภชนาการออนไลน์ฟรี

สถานการณ์ในปัจจุบันทำให้ชีวิตของทุกคนในครอบครัวถูกจำกัดบริเวณอยู่ในบ้านกันมากยิ่งขึ้น บ้านกลายเป็นสถานที่ทดแทน เป็นทั้งที่ทำงานของพ่อแม่ และโรงเรียน หรือสนามเด็กเล่นให้ลูกได้เรียนรู้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพื้นที่ถูกจำกัดเพื่อความปลอดภัยแล้ว พ่อ แม่ ผู้ปกครองอาจพบเจอกับความท้าทายในการสรรหากิจกรรมต่าง ๆ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกน้อย เพื่อชดเชยช่วงชีวิตแห่งการเรียนรู้ ไม่ให้หล่นหายไป ผู้เชี่ยวชาญทางพัฒนาการด้านต่าง ๆ จึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะให้คำปรึกษากับพ่อ แม่ และ ผู้ปกครองได้

นางกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเล่น เพราะสมองส่วนหน้าจะเปิดรับการเรียนรู้ โครงการ เนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี จึงสานต่อกิจกรรม “#เมนูหนูช่วยทำ” ตอนสนุกสุขโซน เพื่อเชิญชวนพ่อแม่ และผู้ปกครองสร้างพื้นที่แห่งความสุขและสุขภาพดีในบ้าน โดยใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน ด้วยการชวนเด็ก ๆ ร่วมเตรียมมื้ออาหารให้สนุกและมีสีสัน ให้เด็ก ๆ ได้ลงมือทำจนสำเร็จ ซึ่งจะเป็นการช่วยฝึกทักษะการคิดจากสมองส่วนหน้า (EF: Executive Functions) สร้างความมั่นใจ และ สร้างพฤติกรรมสุขภาพหมู่ร่วมกันในครอบครัว โดยกิจกรรมโซนที่ ครัวหรรษา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ได้เปิดพื้นที่ให้ผู้ปกครองพูดคุยและขอรับคำปรึกษาด้านจิตวิทยาและโภชนาการออนไลน์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญ ผ่าน Facebook Messenger ของ https://www.facebook.com/N4HKThailand/ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

นำโดย อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ และ นางทัศนีย์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ผู้จัดการฝ่ายชำนาญการพิเศษด้านอาหาร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่พร้อมให้คำแนะนำที่หลากหลาย เพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการอารมณ์ การสื่อสารเชิงบวกเมื่อสมาชิกต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านติดต่อกันเป็นเวลานาน เกร็ดความรู้หรือเทคนิคการทำอาหารเพื่อสุขภาพให้อร่อยและจูงใจเด็ก ไปจนถึงการจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อสมดุลกายและใจ

ทั้งนี้ เนสท์เล่ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยจากพ่อแม่ และผู้ปกครอง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก และผู้ชำนาญการพิเศษด้านอาหาร เพื่อสร้างสุขภาพดี และส่งเสริมความสุขในบ้านมาไว้ดังนี้

1.    วิธีจัดสรรเวลาสำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครองที่ทำงานที่บ้าน ในขณะที่ลูกเรียนหนังสือออนไลน์ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และลดความตึงเครียดภายในบ้าน

อาจารย์รณสิงห์: การจ้องหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปทอป หรือ มือถือเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเพลียง่ายโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะสมองต้องทำงานหนักขึ้นตามภาพที่เคลื่อนไหวเร็วอยู่ตลอดเวลา เสมือนเวลานั่งรถทางไกล แม้ไม่ได้เป็นคนขับ ก็รู้สึกเหนื่อย เพราะเราเห็นภาพของวิวข้างทางที่เคลื่อนไหวอย่างเร็วเป็นเวลานาน เสมือนว่าเรากำลังใช้ร่างกายเคลื่อนไหวจริง กล้ามเนื้อร่างกายจะเกิดการเกร็ง และตึงของกล้ามเนื้อที่เราเรียกว่า “ตึงเครียด”  ความเครียดและความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงานหน้าจอ จะส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่าย และกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัว สมาชิกแต่ละคน แต่ละช่วงวัยอยากมีเวลาและพื้นที่เป็นของตัวเองมากขึ้น การดูแลสมาชิกในครอบครัว หรือการดูแลบุตรหลานเรื่องการเรียนออนไลน์  สามารถแก้ไขได้ด้วยการกำหนดช่วงเวลาพัก เพื่อทำกิจกรรมสันทนาการ หรือออกกำลังกายง่าย ๆ ร่วมกันในบ้าน

กิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ อนสนุกสุขโซน นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมต้นแบบที่ทุกครอบครัวสามารถทำได้ เพราะทุกบ้านต้องทานอาหารอยู่แล้ว และใช้เวลาไม่นาน เพียงแค่วันละ 20 – 30 นาที อีกทั้งการเข้าครัวยังช่วยเสริมพัฒนาการในเด็กให้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเป็นขั้นตอน และอาศัยความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังเติมเต็มเวลาคุณภาพให้กับสมาชิกในครอบครัวทั้งในส่วนของ อารมณ์  อาหาร และการออกกำลังกาย แนะนำให้ชวนเด็ก ๆ จัดตารางสนุกสุขโซน ประจำสัปดาห์ ซึ่งเป้าหมายสำคัญของกิจกรรมนี้ คือการได้ใช้เวลาที่ต้องอยู่ติดบ้าน สร้างสรรค์เป็นเวลาคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีทางโภชนาการ และความสุขทางอารมณ์ เริ่มต้นจากมื้ออาหารที่ทำร่วมกัน และรับประทานร่วมกันอย่างมีความสุขในบ้าน อย่าลืมปิดท้ายด้วยการออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจากความอ้วนสะสม


2.   สำหรับครอบครัวที่มีลูกในช่วงวัยพัฒนาการที่ต่างกันมาก จะสามารถทำกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ร่วมกันได้ไหม

อาจารย์รณสิงห์: ได้แน่นอน และจะยิ่งเป็นผลดีต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ของพี่ น้อง และสมาชิกในครอบครัว ให้รู้จักหน้าที่ของกันและกัน ในกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน นี้ ทีมงานได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น โซน ได้แก่ โซนนักสำรวจ ให้เด็ก ๆ สำรวจและสังเกต ค้นหาวัตถุดิบที่มีภายในบ้าน โซนครัวหรรษา ให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมและเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเพื่อสร้างประสบการณ์ตรง และ โซนคิดส์สร้างสรรค์ ให้เด็ก ๆ ชื่นชมผลงานของกันและกัน และบอกเล่าเรื่องราวความสนุกที่เกิดขึ้นจากมื้ออาหารในครอบครัว ดังนั้น พ่อแม่ และผู้ปกครอง สามารถใช้กิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน เป็นตัวกำหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละคนในบ้าน ฝึกเชื่อมโยงกระบวนการคิดมิติสัมพันธ์ให้รอบด้าน เริ่มจากการค้นหาเมนูสำหรับเด็กในวัยต่าง ๆ การคัดเลือกวัตถุดิบ การแบ่งหน้าที่ตามความสามารถในแต่ละช่วงวัย อาทิ น้องเล็กช่วยล้างผัก และพี่โตช่วยหั่นผัก รวมไปถึง พ่อแม่ และผู้ปกครองเองก็สามารถสอดแทรกความรู้และโภชนาการให้เด็ก ๆ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนในครอบครัว ช่วยให้รู้จักคิดถึงคนอื่น เด็ก ๆ เองก็ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

 3.  โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย นั่งหน้าจอตลอดทั้งวัน จากการ Work From Home หรือเรียนออนไลน์

นางทัศนีย์ในบ้านของเราประกอบไปด้วยสมาชิกในบ้านหลายช่วงวัย แนวทางการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพ เริ่มจาก พฤติกรรมหลัก ได้แก่ 1. กินหลากหลายเพิ่มผักผลไม้ 2. กินสัดส่วนที่เหมาะสม 3. กินพร้อมหน้า 4. ขยันขยับ ออกกำลังกาย และ 5. เลือกดื่มน้ำเปล่า ซึ่งการหมั่นจิบน้ำเปล่าระหว่างวัน จะช่วยลดการขาดน้ำ ช่วยให้สมองและร่างกายสดชื่น เราสามารถเพิ่มรสชาติ และสีสันในการดื่มน้ำได้หลากหลายสไตล์ ยกตัวอย่างเช่น การทำน้ำแข็งผลไม้ หรือ เครื่องดื่มเสริมวิตามินซีจากผลไม้สด (Infused waterเพื่อเสริมวิตามิน และเพิ่มภูมิต้านทานในช่วงนี้ สำหรับเด็กในวัยเรียน อาจเตรียมอาหารว่างระหว่างวัน โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ เพื่อลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียม และไขมัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโรคอ้วนในเด็ก พร้อมเลือกวัตถุดิบหรือเครื่องดื่มที่เสริมวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายและการเจริญเติบโต อาทิเช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก และ วิตามินดี เนื่องจาก          ไลฟ์สไตล์ของเด็กยุคใหม่ที่ต้องติดอยู่ในพื้นที่ปิด อาจทำให้ขาดสารอาหารสำคัญที่มาคู่กับการได้รับแสงอาทิตย์    นั่นคือวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายของเราดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

4.   หากพ่อแม่ และผู้ปกครองไม่ถนัดปรุงอาหารเองที่บ้าน จะยังสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดี และ ปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพดีให้กับลูกได้ไหม

อาจารย์รณสิงห์: กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการลงมือทำซ้ำ ๆ เป็นประจำ จนกลายเป็นนิสัย  การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพดี หากบ้านไหนไม่สะดวกเข้าครัว ก็สามารถพูดคุย สร้างบทสนทนากับลูก ชวนลูกเลือกสั่งซื้ออาหารที่มีองค์ประกอบของอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สอดแทรกความรู้ตามหลักโภชนาการได้ นอกจากนี้        การมอบหมายหน้าที่ให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร แกะและเทอาหารที่สั่งซื้อมาใส่ภาชนะ ทานอาหารพร้อมหน้ากัน ไปจนถึง ช่วยกันเก็บล้าง ก็จะช่วยกระชับสัมพันธภาพในครอบครัว เด็กเองก็ได้เรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนผ่านกิจวัตรประจำวัน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองส่วนหน้า (Executive Functions) อีกด้วย

 นางทัศนีย์: การสร้างเสริมหรือการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้ลูก ต้องเริ่มต้นจากการเป็นแบบอย่างที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ และ ผู้ปกครอง ซึ่งสามารถเริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกสรรเมนูอาหารที่หลากหลาย มีสารอาหารครบถ้วนให้ทาน การชวนทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้านร่วมกัน รวมถึงกิจกรรมสันทนาการที่ทำให้สนุกกับการขยับ และเคลื่อนไหวร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก และ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองสามารถอาศัยช่วงเวลาที่อยู่บ้านยาวๆ นี้เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก เปิดคู่มือการทำอาหารออนไลน์ และทำไปพร้อมกับลูก ก็ได้เช่นกัน โดยทางเนสท์เล่ ได้จัดทำ E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” ที่รวบรวมเมนูสร้างสรรค์ เคล็ดลับการปรุงอาหาร เกร็ดความรู้โภชนาการ และจิตวิทยาของครอบครัว เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพหมู่ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว สามารถดาวน์โหลด E-Cook Book “รวมมื้อสนุก เมนูประจำบ้าน” ได้ฟรีที่เวบไซต์ nestle.co.th ในส่วนของโภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี http://bit.ly/3rlTyo8

 5.  แนะนำเมนูอาหารที่ทำได้ง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน หากต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

นางสาวทัศนีย์: สำหรับครอบครัวที่มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติตามหลัก Home Isolation แนะนำให้พยายามทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และสดใหม่ โดยแนะนำเป็นอาหารจานเดียว เป็นเมนูที่ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ให้สารอาหารครบถ้วนทั้ง หมู่ เช่น เบนโตะไข่ม้วนเมนูผัดเห็ดสามสหายข้าวผัดใส่ใจไข่ฟรุ้งฟริ้ง เป็นต้น พบกับไอเดียเมนูที่หลากหลายพร้อมวิธีการทำง่ายๆ ได้ที่ https://www.nestle.co.th/th/nhw/kids/homerecipe ข้อดีของการจัดอาหารจัดแยกชุดสำหรับสมาชิกในบ้าน คือจะช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายหรือติดเชื้อระหว่างบุคคล ส่วนการบริหารจัดการวัตถุดิบ แนะนำให้เลือกผักผลไม้ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น แครอท บรอคโคลี กะหล่ำปลี และ ผลไม้เนื้อแข็ง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง สาลี่ มะม่วงมัน

ขอเชิญทุกครอบครัวไทยเข้าร่วมกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน และสอบถามโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญถึงเคล็ดลับ เทคนิค ตลอดจนแนวทางการสร้างพื้นที่แห่งความสุขภายในบ้าน กับ อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ และ นางทัศนีย์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ผู้จัดการฝ่ายชำนาญการพิเศษด้านอาหาร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ผ่าน Facebook Page ของกิจกรรม ได้ที่ https://www.facebook.com/N4HKThailand ตั้งแต่วันที่   15 – 28 กรกฎาคม 2564 ผู้ร่วมกิจกรรมมีสิทธิ์รับรางวัลไปสร้างสุขในบ้านกันต่อ เนสท์เล่ขอส่งกำลังใจและความห่วงใยเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจของทุกครอบครัวไทย

Written By
More from pp
รมช.ธรรมนัส ลงศึกษาดูงานต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ฟื้นฟูภาคการเกษตรจากผลกระทบไวรัลโควิด – 19
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมและศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ณ ศูนย์เรียนรู้จิตอาสาและเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ โรงเรียนนายร้อยตํารวจ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Read More
0 replies on “เนสท์เล่ เผยสารพันเรื่องชวนคิดเมื่อชีวิตต้องติดบ้าน แนะนำเคล็ดลับสร้างสุขภาพดี ส่งเสริมความสุขในบ้านผ่านกิจกรรม #เมนูหนูช่วยทำ ตอนสนุกสุขโซน พร้อมเปิดช่องทางให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาและโภชนาการออนไลน์ฟรี”