“ชุมพล” ย้ำ ไม่รับทุกร่างที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บกพร่องปัญหาวันนี้เกิดจากคน นักการเมือง พรรคการเมือง

23 ก.ย. 2563 นายชุมพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยระบุว่าส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับญัตติที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกร่างที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกที่มีความประสงค์ชัดเจนว่าจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับคือเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ

กลุ่มที่ 2 เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เช่นญัตติเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มแรกที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน แล้วร่างขึ้นใหม่ทั้งฉบับ

ส่วนตัวมีความเห็นเหมือนกับประชาชนทั้ง 16.8 ล้านคน ที่ลงมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีอยู่แล้วเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดไว้ว่า นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลบริหารประเทศจะต้องเป็นบุคคลพิเศษมีคุณลักษณะเหมาะสมที่พรรคการเมืองได้กลั่นกรองแล้วเสนอชื่อ ให้ประชาชนพิจารณาก่อนที่จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไป ทำให้ประชาชนได้รู้จักประวัติผลงานต่างๆก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยความตั้งใจที่จะให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศคนที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันนั้นตัดสินใจอยู่ 2 แนวทาง คือ เอาประยุทธ์กับไม่เอาประยุทธ์ถ้ารัฐธรรมนูญไม่บัญญัติบังคับไว้แม้เลือกตั้งผ่านไปประชาชนก็ไม่รู้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกใครต้องลุ้นกันจนถึงวันประชุมสภาผู้แทนราษฏร เพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีส่วนตัวมีประสบการณ์อยู่ในบรรยากาศของการลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง

ยกตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2550 เลือกตั้งทั่วไปครั้งเดียว มีเหตุให้สภาชุดนั้นเลือกนายกรัฐมนตรี 3 ครั้งครั้งแรกสภาผู้แทนราษฎรลงคะแนนเสียงข้างมากเลือกนายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี

หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งก็เลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อนายสมชายพ้นตำแหน่งต้องเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่ในสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏเสียงข้างมากลงคะแนนเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี


แต่ในการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ครั้งที่เกิดปัญหาฝ่ายแพ้ไม่ยอมแพ้ อ้างว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ไม่ชอบธรรมทั้งๆที่สภาชุดเดิมส.ส.ชุดเดิมในสภาเดิมเป็นผู้ลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีเหมือนกันทั้ง 3 ครั้งหลังจากนั้นได้เกิดเหตุจลาจลในบ้านเมืองปิดล้อมอาคารรัฐสภา ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน นำกำลังติดอาวุธออกมาเข่นฆ่าประชาชนตายกันเป็นร้อยเผาบ้านเผาเมืองทำให้ประเทศเสียหายอย่างรุนแรง

ประสบการณ์ครั้งล่าสุดของตนได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภานี้ลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันวันนั้นถ้าจำกันได้เป็นการแข่งขันกันระหว่าง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี 251 คนเลือกนายธนาธร 2 2 4 คน ผลจากการลงคะแนนพลเอกประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีทำให้เกิดกระบวนการนอกสภาออกมาเคลื่อนไหวโจมตีว่าพลเอกประยุทธ์เป็นนายกเผด็จการนี่ก็เหมือนกันเป็นเรื่องของฝ่ายแพ้แล้วไม่ยอมแพ้

เหตุการณ์นี้เหมือนกับเหตุการณ์ในอดีตที่ฝ่ายสนับสนุนพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเมื่อลงคะแนนในสภาและแพ้นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ยอมแพ้เช่นกันระดมกำลังกันก่อเหตุนอกสภาต่อต้านรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ทั้งนายอภิสิทธิ์และพลเอกประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีตามระบอบรัฐสภาโหวตเลือกนายกแข่งกันในสภาเมื่อฝ่ายตนแพ้ก็ โจมตีฝ่ายชนะว่าเป็นนายกเผด็จการที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าก็เพราะแพ้เลือกตั้ง แพ้การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎรแต่ถ้าหากฝ่ายตนชนะในการเลือกตั้งก็จะไม่พูดว่าเลือกนายกโดยไม่ชอบธรรมหรือนายกเป็นเผด็จการ

สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าจำได้ในสมัยปี 2554 เป็นเรื่องเลวร้ายที่สุดที่ตนอยู่ในสภาแห่งนี้มารัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้เสียงข้างมากในการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ไม่ฟังเสียงใครออกมาเพื่อล้างผิดให้นายทักษิณ ชินวัตรและพวกพ้อง ให้พ้นผิดจากทางอาญานั่นคือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ฟังเสียงประชาชนเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยฉบับหนึ่ง

ในที่สุดประชาชนหลายคนออกมาประท้วงต่อต้านยาวนานถึง 7 เดือน ส่วนตัวก็เป็นคนหนึ่งที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปเป็นแกนนำ ต่อสู้ร่วมกับประชาชนเพราะไม่มีทางเลือกอื่น

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ร่างขึ้นโดยกำหนดกฎเกณฑ์ในการปกครองบ้านเมืองเพื่อแก้ไขป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองแบบในอดีตอีกเพราะได้พบเห็นจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาโดยมีบทบัญญัติต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศประชาชน 16.8 ล้านคนพร้อมใจกันลงมติให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ใช้มา 3 ปีแล้วประชาชนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภามาวันนี้ส่วนตัวมองไม่เห็นเลยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอะไรที่บกพร่องเสียหายจนต้องฉีกทิ้งยกเลิกแล้วร่างขึ้นมาใหม่


หากมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ใดๆในทางการเมืองหรือการปกครองในขณะนี้ก็เป็นเรื่องของคนเป็นเรื่องของนักการเมืองเป็นเรื่องของพรรคการเมืองทั้งสิ้นไม่ใช่ความบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ในแง่ตัวบทกฎหมายส่วนตัวเห็นว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบทที่ 15 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอนุญาตให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดมาตรา หนึ่งแต่ไม่ใช่เขียนขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ส่วนตัวเห็นว่าญัตติที่ให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันย่อมทำไม่ได้แน่นอน

ญัตติแก้ไขมาตรา 272 ส่วนตัวเข้าใจดีว่ามีความประสงค์ต้องการไม่ให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี โดยข้อเท็จจริงมาตรา 272 เป็นมาตราหนึ่ง ในบทเฉพาะกาลมีผลบังคับใช้เฉพาะ 5 ปีแรกเท่านั้นเมื่อพ้น 5 ปีแรกไปแล้วสมาชิกวุฒิสภาทั้งหลายหมดสิทธิ์ที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีการเลือกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามมาตรา 159

และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแต่ว่ากันไปแล้วส่วนตัวก็ไม่ค่อยสนใจว่าสมาชิกวุฒิสภาจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่เพราะในทางปฏิบัติใครจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุนเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรต่อให้สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ลงคะแนนให้ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุนไม่ถึงครึ่งก็เป็นนายกรัฐมนตรีได้ไม่กี่น้ำวันใดเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินครึ่งไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนั้นและก็พร้อมใจกันยกมือไม่รับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณวาระแรก แพ้มติกฎหมายสำคัญก็ต้องลาออกยุบสภาจบสนิทเป็นได้เดือนเดียว

ส่วนตัวเห็นว่ามาตรา 272 จะมีหรือแก้ไขหรือยกเลิกไม่ใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญสำหรับตนในขณะนี้วันนี้ผมภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่แทนพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชุมพรและพี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งประเทศแสดงความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญแทนประชาชน

ภูมิใจที่ได้พูดแทนประชาชนด้วยความจริง ใจด้วยความสุจริตใจ ส่วนตัวทำหน้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 114 ทำหน้าที่ผู้แทนของปวงชนชาวไทยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติมอบหมายของใครไม่ได้ถูกใครครอบงำไม่อยู่ภายใต้กระแสกดดันของม็อบการเมืองกลุ่มไหนส่วนตัวทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยด้วยสำนึกรับผิดชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเห็นว่าสิ่งที่ตนพูดมาทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนตัวไม่รับทุกร่างที่ เสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้

Written By
More from pp
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระอาการพระหทัยเต้นเร็วผิดปกติ
21 พฤศจิกายน2565 – สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์...
Read More
One reply on ““ชุมพล” ย้ำ ไม่รับทุกร่างที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บกพร่องปัญหาวันนี้เกิดจากคน นักการเมือง พรรคการเมือง”
  1. says: S Yana Boon

    ขอบคุณ ส.ส. ชุมพล จุลใส ที่มีความคิดเป็นของตนเอง และเห็นแก่ประชาชนส่วนใหญ่ที่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ลืมการกระทำของนักการเมืองก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ว่าทำให้บ้านเมืองแตกแยกและยุ่งเหยิงเพียงใด

Comments are closed.