กทปส. มอบทุน ม.แม่ฟ้าหลวง เดินเครื่องวิจัยและพัฒนาต้นแบบ e-School ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลฯ

กทปส. มอบทุน ม.แม่ฟ้าหลวง เดินเครื่องวิจัยและพัฒนาต้นแบบ e-School ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลฯ

หวังเพิ่มขีดความสามารถการศึกษาไทยครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ขานรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เดินหน้าสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลในชนบท ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มอบทุนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในโครงการพัฒนาต้นแบบโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถและลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนการสอนในพื้นที่ชนบท  ผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา (Near Real-time Captioning)  พร้อมแผนขับเคลื่อนและขยายระบบให้แก่โรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ

นายนิพนธ์  จงวิชิต รักษาการผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้สอดรับกับการเดินหน้าสู่ Thailand 4.0 พื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนก็คือ การศึกษา ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่จะทำอย่างไรให้การเรียนการสอนสามารถทำได้ครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ไปยังโรงเรียน  ครูอาจารย์ และนักเรียน  นอกจากนี้จิ๊กซอร์ที่สำคัญที่จะเข้ามาเป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการถ่ายทอดองค์ความรู้จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบการทำงานขึ้น ดังนั้น กทปส. เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการมอบทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา (Near Real-time Captioning) ขึ้น

สำหรับโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับมอบทุนสนับสนุนจาก กทปส. ซึ่งได้พัฒนาต่อยอดและมีความเชื่อมโยงกับโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    แต่ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล  ส่งผลให้การพัฒนาการเรียนการสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การพัฒนาคอนเทนต์ต่างๆ เป็นรูปแบบดิจิทัลสามารถแบ่งปันในระบบดิจิทัลได้ครอบคลุมยิ่งขึ้นไปยังโรงเรียนต่างๆ ในชนบทที่ห่างไกลของประเทศได้เข้าถึงการเรียนการสอน และพัฒนาด้านการศึกษาไทย อีกทั้งยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย

ทางด้าน ผศ.นอ.ดร.ธงชัย  อยู่ญาติวงศ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา (Utilization of Digital Technology to Enhance Teaching-Learning and Administration in Rural Schools)  เป็นโครงการฯที่มีความเชื่อมโยงกับโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  อันเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกันเป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2550  โดยในโครงการดังกล่าวได้วางแนววัตถุประสงค์ ให้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ICT Infrastructure) และสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนในพื้นที่ชนบท โดยใช้จังหวัดเชียงรายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาและการให้บริการชุมชน  จากผลการดำเนินงานของโครงการได้เป็นที่กล่าวถึงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง จากวงการศึกษาทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ  ทั้งในเรื่องของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาศักยภาพครูโดยการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ  การส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษ การพัฒนาระบบโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ และด้านอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการประสานความความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน และนอกจากนั้นการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและห้องศูนย์ทางไกล ยังเป็นต้นแบบในการจัดทำศูนย์ ICT ชุมชน (USO Net) ให้กับสำนักงาน กสทช. เพื่อขยายผลองค์ความรู้แก่ประชาชนในทุกเขตภูมิภาคของประเทศ

จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีแนวคิดที่จะขยายผลต่อยอดจากการจัดทำโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลฯ จึงได้จัดทำโครงการวิจัยพัฒนาขึ้น คือ  “โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพโดยรวมของการบริหารโรงเรียนในชนบท” โดยมีแนวคิดที่จะขยายผลต่อยอดการจัดทำต้นแบบการปฏิรูปการเรียนการสอน และการบริหารจัดการของโรงเรียนในชนบทด้วย  Digital Technology  (e-School) เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 และ Digital Society โดยการพัฒนาระบบ Digital Administration ให้เป็นต้นแบบในการนำระบบไอซีทีมาใช้ในงานบริหารจัดการงานหลักของโรงเรียน อันประกอบด้วยงานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานประวัติผลงานของบุคลากรทางการศึกษา  งานดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกิจกรรมนักเรียน และการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร  อันได้แก่ ระบบ e-Office ระบบ e-Money ระบบ e-Material ระบบ e-Folio ระบบ e-Student และระบบ e-Executive ตามลำดับ รวมทั้งการส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Tools  ในการเรียนการสอน และพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนดิจิทัลแห่งการเรียนรู้ (Digital Learning Community of  Practice) เพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับคุณภาพการบริหารและการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบท ให้กับโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศ

ในการดำเนินโครงการ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้

1 วิจัยพัฒนาระบบ Digital Administration (e-School) สำหรับงานบริหารจัดการหลักของโรงเรียน อันประกอบด้วย ระบบ e-Office (ระบบงานสารบรรณ) ระบบ e-Money (ระบบงานการเงินและบัญชี) ระบบ e-Material (ระบบงานพัสดุ) ระบบ e-Folio (ระบบงานประวัติและผลงานบุคคล) ระบบ e-Student (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกิจกรรมนักเรียน) และ ระบบ e-Executive (ระบบการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร)

2 พัฒนาโรงเรียนต้นแบบ e-School ในการใช้ระบบ Digital Administration และการใช้ Digital Tool ในการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจทั่วประเทศ

3 ส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนดิจิตอลแห่งการเรียนรู้ (Digital Learning Community of  Practice)

ปัจจุบันโครงการได้วิจัยพัฒนาระบบ Digital Administration หรือที่เรียกกันในโครงการว่าระบบ e-School ได้อย่างสมบรูณ์ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการ ประกอบด้วย ระบบ System Administration (ระบบงานผู้ดูแลระบบ) ระบบ e-Office (ระบบงานสารบรรณ) ระบบ e-Money (ระบบงานการเงินและบัญชี) ระบบ e-Material (ระบบงานพัสดุ) ระบบ e-Folio (ระบบงานประวัติและผลงานบุคคล) ระบบ e-Student (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกิจกรรมนักเรียน) และ ระบบ e-Executive (ระบบการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร)

โรงเรียนในโครงการทั้ง 20 โรงเรียน ได้มีการนำระบบไปใช้งานทุกโรงเรียน โดยเลือกใช้โมดูลที่ตนเองพร้อมใช้งานตามลำดับ และมีโรงเรียนอื่นๆนอกโครงการได้ขอนำระบบดังกล่าวไปใช้งานกว่า 100 โรงเรียนในหลายพื้นที่ของประเทศ

ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Digital Technology (Digital Tools) ทางโครงการได้นำ Digital Tools สมัยใหม่ที่เป็น Freeware ส่วนใหญ่มาอบรมการใช้งานให้กับคุณครู สำหรับการนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมการสอน  การสอน การประเมินผล และการสื่อสารกับนักเรียน  ปัจจุบันโครงการได้บรรลุเป้าหมายในการสร้างครูแกนนำจำนวนกว่า 100 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 20 โรงเรียน  ในการพัฒนาทักษะการใช้ Digital Tools ใหม่ๆที่เหมาะสม และเทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนทีมีสัมฤทธิผล  โดยโครงการได้ส่งเสริมให้เกิดเป็น Digital Learning Community of Practice  จากครูแกนนำกลุ่มนี้ เพื่อการแบ่งปันความรู้ และการร่วนกันพัฒนาการเรียนการสอน

ล่าสุดทางด้านครูในโครงการยังได้รับรางวัล  Thailand 2019 Innovative Teacher Leadership Award  เป็นรางวัลชนะเลิกระดับประเทศ และจะได้ไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติที่ประเทศออสเตรเลียในเร็วๆนี้ อีกด้วย

Written By
More from pp
ต้อนรับเทศกาลกินเจ ที่ร้านฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน ขอชวนคุณอิ่มอร่อยสุขภาพดี อิ่มบุญอิ่มใจตลอดปี 2564
“ฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน” ร้านอาหารจีนสไตล์ฮ่องกงขนานแท้ ที่เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 15 ปี พร้อมต้อนรับเทศกาลกินเจ ประจำปี 2564 ขอเชิญชวนคุณมาอิ่มบุญอิ่มใจกับการรับประทานอาหารเจ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ ช่วยให้ร่างกายได้ปรับสมดุลให้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการละเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ พร้อมรับบุญอันยิ่งใหญ่จากการให้ทานในระยะเวลา 10 วัน ตลอดช่วงเทศกาลกินเจนี้
Read More
0 replies on “กทปส. มอบทุน ม.แม่ฟ้าหลวง เดินเครื่องวิจัยและพัฒนาต้นแบบ e-School ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลฯ”