นิสสัน สนับสนุนความยั่งยืนของชุมชน ผ่านผลงานของนักศีกษาด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมจากโครงการแค่ใจก็เพียงพอ

กรุงเทพ ประเทศไทย  – ผลงานอิฐบล๊อกเรืองแสงจากเปลือกหอยนางรมสร้างสรรค์โดยทีม “มิตร” นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ชุมชนบ้านตะกาดเง้าในจังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศจากนวัตกรรมชุมชนจาก “โครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562” ของนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทยโครงการแค่ใจก็เพียงพอที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ออกแบบและสร้างสรรค์การแก้ไขปัญหาขยะ และของเหลือใช้ เพื่อส่งเสริมรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตที่ชุมชนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

“ในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ การช่วยเหลือกันถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การที่น้องๆ นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนเหล่านี้ ในการลดปริมาณขยะในพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่ชุมชน ถือเป็นเรื่องที่น่าประทับใจและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง” ราเมช นาราสิมัน ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว “ด้วยแนวคิดของทีม “มิตร” ผู้ชนะเลิศในครั้งนี้ ที่สร้างสรรค์และบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าด้วยกัน ในการนำเปลือกหอยนางรมเหลือทิ้งจำนวนมาก มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดและสามารถขายเป็นรายได้เสริมให้กับชุมชนได้”

โดยผลงานผลิตภัณฑ์ที่ชนะเลิศจากทีม “มิตร” คือ “อิฐ อึด อึด” และ “ทางเดินวิบวับ” ซึ่งเป็นอิฐบล๊อกที่มีส่วนผสมจากเปลือกหอยนางรมและคอนกรีต อิฐปูทางเดินเรืองแสง ซึ่งสามารถนำไปใช้สำหรับการตกแต่งสวน ใช้ในการก่อสร้าง หรือการสร้างถนน ซึ่งความโดดเด่นนี้ เป็นการนำเปลือกหอยนางรมที่ถูกทิ้งไว้ในชุมชนมาใช้ได้อย่างชาญฉลาด ที่สำคัญคือ มีน้ำหนักเบากว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด ดูดซับน้ำน้อย มีความยืดหยุ่น ทำให้ไม่ลื่น รวมทั้งยังสามารถผลิตได้ในรูปทรงและขนาดที่หลากหลายได้

ทีม “มิตร” ได้รับเป็นทุนการศึกษาจำนวน 250,000 บาท พร้อมมอบเงินสนับสนุนการศึกษาอีก 50,000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัย เป็นรางวัลชนะเลิศจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ในการช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะนี้ พร้อมทั้งช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชนบ้านตะกาดเง้าอีกด้วย

“พวกเราขอขอบคุณนิสสัน ที่ได้ช่วยให้เราเข้าใจคำว่า นวัตกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น ผ่านโครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562 เราทุกคนรู้สึกภูมิใจมากในฐานะนักศึกษาที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ที่เราได้นำเสนอ” กัลยา​รัตน์​ บุญ​เยี่ยม​ธน​ะดี และกัญ​ญ์ชนา​ กอ​ทอง สมาชิกทีมชนะเลิศ ทีม “มิตร” กล่าว

ณรงค์กร ภิบาลชนม์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนบ้านตะกาดเง้า กล่าวว่า “เปลือกหอยนางรมถือเป็นปัญหาของชุมชนมาอย่างยาวนาน เรารู้สึกดีใจมากที่นิสสันและนักศึกษา ได้เข้ามาช่วยเหลือชุมชนในการจัดการปัญหานี้ ซึ่งไม่ใช้แค่ช่วยแก้ไขแต่ยังช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้แก่ชุมชนด้วย เราจะทำงานร่วมกับน้อง ๆ นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบชิ้นนี้ให้เป็นจริงให้ได้”

ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ “กลุ่มใจ” จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์จากขยะถุงพลาสติกในชุมชนบ้านน้ำใส จังหวัดจันทบุรี ให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปกป้องลูกทุเรียนในการขนส่ง เนื่องจากไม่สามารถใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไปได้ รวมถึงยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

“โครงการนี้ช่วยยกระดับความคิดของเราในการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุดตามที่ชุมชนต้องการ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ต้องช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชนด้วย นี่คือคุณค่าที่แท้จริงที่เราสามารถสร้างได้” กล่าวโดยโสรยา ระดาฤทธิ์ นักศึกษาสาขาออกแบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากทีม “กลุ่มใจ”

ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง “เดอะ แกลบ คราฟ” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงานของที่ใช้สไตล์คราฟจากขยะพลาสติกหลายรูปแบบ ในชื่อ “สายคราฟ” เช่น คลิปหนีบปิดถุงรูปนก แท่นวางโทรศัพท์มือถือ รูปวาฬและปลาฉลาม โดยในแต่ละชุดจะใช้ขวดพลาสติกจำนวน ขวดในการผลิต โดยจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้ในการปลูกต้นไม้ในชุมชนบ้านน้ำใส จังหวัดจันทบุรี

“ขอแสดงความยินดีกับทั้งหกทีม ซึ่งทุกคนถือว่าได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอนาคต” นิธิศ ธนะมูล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา กล่าว

“โครงการแค่ใจก็เพียงพอ ของนิสสัน ทำให้เราได้เรียนรู้การช่วยเหลือ สนับสนุนและแบ่งปันข้อมูลกันเพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเหล่านี้ เราขอขอบคุณทางนิสสัน ประเทศไทย ที่ได้นำโครงการนี้มาสู่ตำบลทุ่งเบญจา และชุมชนต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เราสามารถพัฒนาชุมชนต้นแบบได้อย่างยั่งยืน” นิธิศ กล่าวเสริม

โครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562 ในรอบสุดท้ายนี้ จัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยทั้งหกทีมที่เข้าสู่รอบสุดท้ายได้ทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้พัฒนาร่วมกับชุมชนมามากว่า เดือน ให้แก่สื่อมวลชนกว่า 20 คน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการ และผู้บริหารนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย

ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส และ ผู้จัดการโปรแกรม Food Innopolis สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวขอบคุณชุมชนที่ได้สนับสนุนห้องวิจัยธรรมชาติให้แก่นิสสัน และนักศึกษาเป็นอย่างดีตลอด เดือนที่ผ่านมาว่า

“ผมได้เห็นพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมของนวัตกรรมต้นแบบทั้งหกชิ้น ซึ่งชุมชนสามารถนำไปต่อยอดทั้งในด้านการใช้งานและการขายเพื่อเสริมสร้างรายได้ได้ ผมขอชื่นชมที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกลั่นความคิดในการพัมนาโครงการนี้ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทย”

โครงการแค่ใจก็เพียงพอ เริ่มต้นเมื่อปี 2560 เพื่อสานต่อและน้อมนำคำสอนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีนี้ โครงการได้ถูกออกแบบเพื่อมุ่งเน้นการช่วยเหลือชุมชน และส่งเสริมนักศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการสร้างนวัตกรรมชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาที่แท้จริงในชุมชน ให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ และทีมชนะเลิศ ได้ที่ แค่ใจก็เพียงพอ.com หรือกด like เพจ Facebook แค่ใจก็เพียงพอ หรือกด ติดตามได้ที่ Instrgram

Written By
More from pp
“ศักดิ์สยาม” นำ นายฮวน คาร์ลอส ซาลาซาร์ เลขาธิการองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำนายฮวน คาร์ลอส ซาลาซาร์ เลขาธิการองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO)...
Read More
0 replies on “นิสสัน สนับสนุนความยั่งยืนของชุมชน ผ่านผลงานของนักศีกษาด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมจากโครงการแค่ใจก็เพียงพอ”