Calcium score ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ

3D human heart illustration rendering with stone material isolated on gray background and clipping path for use on any backdrop

โดย พญ.พิชชญา บุญดี
แพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
โรงพยาบาลพระรามเก้า

ร่วมรณรงค์ดูแลหัวใจให้แข็งแรงเนื่องในวันหัวใจโลก ด้วยในปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและตันเฉียบพลันเป็นการเจ็บป่วยที่สำคัญของคนไทย โดยที่มีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคนี้มากขึ้น  อาการที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือ เจ็บหน้าอก และเหนื่อย ไม่สามารถออกกำลัง หรือปฏิบัติภารกิจทางกายได้ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดที่ตีบ และการเสียชีวิตก็มักจะเกิดมาจากมีภาวะการตายเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากหลอดเลือดที่อุดตันโดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน

พญ.พิชชญา บุญดี แพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า การตีบของหลอดเลือด หรือ การตันของหลอดเลือดนั้น มักเกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นภาวะเสื่อม (Degenerative Change) อย่างหนึ่งของร่างกาย โดยไขมันในผนังหลอดเลือดนี้ก็จะมีแคลเซียม หรือ หินปูนสะสมร่วมไปด้วย จนทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็ง  การตรวจวัดหินปูนหรือแคลเซียมที่เกาะอยู่กับหลอดเลือดหัวใจ ก็เปรียบเสมือนการตรวจวัดการเกาะหรือสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดนั่นเอง  ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจเพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น การตรวจระดับไขมันในเลือด การวัดความดันโลหิต การเดินสายพาน (Exercise Stress Test)เป็นต้น การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Detection) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งมีหลักฐานการศึกษาวิจัยรองรับมากมาย ว่าระดับหรือค่าที่ตรวจพบได้ สามารถทำนายโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ชัดเจน  CT Coronary Calcium Score สามารถตรวจวัดระดับแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และสามารถตรวจวัดได้ก่อนมีอาการของโรคหัวใจนานหลายปี ค่าที่วัดได้จาก CT Coronary Calcium Score นี้ จะนำไปใช้เพื่อการบอกโอกาสการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากขึ้นหลายเท่าตัว จึงควรได้รับการตรวจเพื่อที่จะนำข้อมูลไปประกอบการคำนวณอัตราเสี่ยง         และมาตรการตรวจรักษา ป้องกัน ที่เหมาะสมกับบุคคลได้ สำหรับผู้ที่ควรตรวจ CT calcium score คือ ผู้ป่วยทั่วไปที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางของการเกิดโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคไตวาย เป็นต้น

ทั้งนี้ หากทุกคนให้ความใส่ใจดูแลร่างกายและหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่ประโยชน์ ไขมันต่ำ หวานน้อย เค็มน้อย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพร่างกายทุกปี ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและตันเฉียบพลันได้

Written By
More from pp
ซื้อเสียงล่วงหน้า-ผักกาดหอม
ผักกาดหอม ฟังความหลายๆ ด้านแล้ว ส่อเค้าว่า งานเข้าพรรคเพื่อไทย เพราะตั้งธง “แลนด์สไลด์” เป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องทำให้ได้ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการ นโยบายแจกเงินหัวละหมื่นบาท จึงน่าจะกลายเป็นก้างปลาที่ตำคอพรรคเพื่อไทย
Read More
0 replies on “Calcium score ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ”