“ป่วยแล้วไปไหน” ทำไงกับโควิด-19 ?

คำถามที่ว่า ตายแล้วไปไหน ?

น่าจะยังคาใจทุกคนอยู่…แม้กระทั่งยุคสมัยที่ทุกอย่างถูกพัฒนาท่ามกลาง “เทคโนโลยี” แล้วก็ตาม

แต่บางครั้ง หลายอย่างก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธา

หรือ…ใครจะมาพิสูจน์ให้ดูได้ !

ก็ไม่น่ามี…

งั้นเรื่องเป็นๆ ตายๆ ก็ต้องพักไว้ดีกว่า มาเรื่องนี้ที่เข้ายุคเข้าสมัยหน่อย

เลยจะเปลี่ยนคำถามเป็น ?

“ป่วยแล้วไปไหน”

เป็นคำถามคล้ายๆ กันแต่มันน่าจะตรงใจใครหลายๆ คนในตอนนี้แน่นอน

ก็เพราะไอ้โควิด-19 ที่อยู่มานานแล้วยังไม่เลิกไม่ราสักทีนี่แหละ ทำให้คนเกิดคำถามที่ว่าถ้าติดเชื้อขึ้นมา ป่วยแล้วจะไปไหน ?

เอ้อ มันน่าคิดนะ…

เมื่อก่อน ป่วยก็ต้องไปโรงพยาบาล

ตอนนี้หลายๆ โรงพยาบาลมันก็เกินลิมิตที่จะรับได้แล้ว

ถึงตอนนี้สถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น ตัวเลขติดเชื้อลดลง

แต่เราก็ต้องเห็นใจพวกบุคลากรทางการแพทย์นะ ไม่ใช่จะไปโวยวายเขา ถ้าเขาจะดูแลไม่ทั่วถึง เพราะเขาก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อดูแลชีวิตประชาชนคนไทยมาตลอด ตั้งแต่มีโควิด-19 ระบาด

แล้วอะไรที่เป็นการแบ่งเบาภาระของกลุ่มแพทย์-พยาบาลได้บ้าง ?

อย่างประชาชนทั่วไป เรื่องง่ายๆ ก็คือเราต้องไม่เอาตัวออกไปอยู่ในจุดเสี่ยงที่จะทั้งรับหรือแพร่กระจายเชื้อโรค

แล้วในส่วนของพวกเอกชนรายใหญ่ๆ ที่ทำมาหากินในประเทศไทยล่ะ

ก็เห็นน้ำใจอยู่ในหลายๆ เจ้าที่ออกมาช่วยเหลือกันก็มีมากมายอยู่

อย่างโครงการ End-to-End ที่ตั้งจุดคัดกรอง และโรงพยาบาลสนาม พร้อมมีอุปกรณ์ช่วยรักษาครบมือ

ขานั้นดูเล่นใหญ่ จัดใหญ่ และก็ทำจริง !

ก็กลุ่ม ปตท. มาจากคนไทย จะไม่ดูแลคนไทยก็กระไรอยู่

เพราะโครงการนี้ไม่ได้มาแค่ตรวจๆ แล้วก็แยกๆ ซะที่ไหน จะทำเหมือนชาวบ้านมันไม่พอ

มันต้อง “ดูแลกันต่อเนื่อง”

แบบนี้ถึงจะเรียกว่าแบ่งเบาภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างแท้จริง

เพราะถ้าใครได้ตรวจแล้วรู้ว่าติดเชื้อก็จะแยกและให้ยารักษาทันที “แถมฟรีตลอดงาน”

คนไหนไหวก็รักษาตัวอยู่บ้าน ทำตามข้อกำหนดไปจนกว่าจะหายดี แต่คนไหนไม่ไหว ต้องการเตียงพร้อมกับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็มีตอบสนองทุกกลุ่ม เพราะถึงขั้นตั้งโรงพยาบาลสนามของโครงการเอง มันไม่ธรรมดาแน่นอน

พอตรวจพบเชื้อ ก็จะแบ่งเป็นผู้ป่วยระดับ…ไล่ตั้งแต่อาหารน้อยไปถึงอาการหนัก

กลุ่มสีเขียวคือกลุ่มแรก มีเตียงดูแลรวมแล้ว 1,000 เตียง สีเหลือง 300 เตียง

แต่ไฮไลท์อยู่ตรงกลุ่มสีแดง คือกลุ่มที่มีอาการหนักมาก และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด

เลยเล่นตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU” ขึ้นมาเลย มีเตียง 120 เตียง ที่ถือว่าเป็น ICU สนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

แม้จะเจียนตาย ก็มีเครื่องมือ เทคโนโลยีมาเตรียมพร้อมรักษาทันที !

ทั้งการ “ฟอกไต” ที่รองรับกว่า 24 เตียง เพราะหากคนไข้ไม่สามารถฟอกไตได้ จะทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก

แถมยังมีเครื่องช่วยหายใจ “ระบบออกซิเจนส่งตรงถึงทุกเตียง”

ซึ่งแต่ละเตียงจะแยกห้องกัน เป็นลักษณะห้องความดันลบ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมมาตรฐานระดับห้องไอซียูในโรงพยาบาล

ใช้ “เทคโนโลยีระบบดิจิทัล” ทำให้สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา

แถมมีระบบการกู้ชีพอัตโนมัติ มีเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ สามารถส่งภาพไปยังรังสีแพทย์ทางไกลได้ทันที

ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบเข้มข้น !

รวมถึงยังมีรถพยาบาลฉุกเฉิน ที่เตรียมพร้อมรับส่งคนไข้ อีกทั้งมีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ

แล้วก็ยังมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. อย่างเครื่องที่ใช้บำบัดทั้ง PM2.5 และกำจัดเชื้อโรคในอากาศได้ในระบบเดียวกัน มาติดตั้งบริเวณโดยรอบอีกด้วย

ครบจริง  แบบนี้ไม่เรียกว่าจัดเต็มได้ยังไง

เห็นคุยว่าใน 1 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 64 ที่เปิดโครงการ ถึงวันที่ 8 ก.ย. 64 ให้บริการคัดกรองแก่ประชาชนไปกว่า 23,000 รายแล้ว

และก็ให้การรักษาผู้ติดเชื้อกว่า 2,600 ราย ในทุกระดับอาการ

แถมมาการันตีด้วยตัวเลขผู้หายป่วยจากการรักษาในโครงการ จำนวนกว่า “1,100 ราย”

แค่นี้มันก็น่าจะตอบได้แล้วว่า “กั๊ก” หรือเปล่า

แถมยังตอบได้อีกข้อว่า… “ถ้าป่วยแล้วจะไปไหน”

Written By
More from pp
โฆษกรัฐบาลไม่สนยุทธการ “เด็ดหัว สอยนั่งร้าน” ชี้โหมโรงอยู่นาน แต่หาหลักฐานไม่ได้ จึงเปลี่ยนแผนใช้อภิปรายแบบหว่านแหแทน
โฆษกรัฐบาลไม่สนยุทธการ “เด็ดหัว สอยนั่งร้าน” ชี้โหมโรงอยู่นาน แต่หาหลักฐานไม่ได้ จึงเปลี่ยนแผนใช้อภิปรายแบบหว่านแหแทน เชื่อใบเสร็จทางการเมืองล้มรัฐบาลแค่ราคาคุย แจงถ้ามีจริงฟ้องหน่วยงานเกี่ยวข้องไปนานแล้ว ไม่ดองไว้แน่
Read More
0 replies on ““ป่วยแล้วไปไหน” ทำไงกับโควิด-19 ?”