ปอท. รวบตัว ‘รุ้ง ปนัสยา’ ฐานความผิด ม.116 – พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

22 ก.ย.64 – น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง นักกิจกรรมทางการเมืองได้ทำการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์แจ้งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. ได้ทำการแสดงหมายจับของศาลอาญาเข้าจับกุมตามคดีความ ม.116 ร่วมกันทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือ ติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และ นำเข้าข้อมูลสู่ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

น.ส.ปนัสยา เปิดเผยว่า ตนกำลังจะเข้าเรียนออนไลน์ และกำลังจะเข้าบ้านพัก จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นายเป็นนอกเครื่องแบบ เป็นชาย 2 หญิง 2 คนหนึ่งกล่าวว่า “ดูหมายจับก่อนก็ได้” ซึ่งตนเองขอให้ทุกคนได้กระจายข่าวสารว่าตนถูกจับและขออนุญาตอาจารย์ลาเรียนในช่วงบ่ายด้วย

ต่อมาเวลา 13.25 น. ที่บก.ปอท. ตำรวจกก.3 บก.ปอท. คุมตัว น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มราษฎร มาทำการสอบสวน โดยทันทีที่น.ส.ปนัสยามาถึง ผู้สื่อข่าวถามเรื่องการเรียนออนไลน์ รุ้งบอกว่าเลยไม่ได้เรียน จริงๆ ตอนนี้จะต้องเรียนแล้วล่ะ

จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงได้พารุ้งเข้าห้องน้ำหญิงเสร็จแล้วจึงพาตัวออกมาก่อนจะพาไปเข้า กก.3 บก.ปอท.เพื่อสอบปากคำพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อประกอบสำนวน โดยรุ้งได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ น.ส.ปนัสยา ได้เปิดเผยผ่านไลฟ์สดว่า ตนกำลังจะเข้าเรียนออนไลน์ และกำลังจะเข้าบ้านพัก จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นายมาแสดงหมายจับเพื่อจับกุม ซึ่งการออกหมายจับครั้งนี้น.ส.ปนัสยา ตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้มีการออกหมายเรียกแต่อย่างใด

ต่อมา อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ รวมทั้งนายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางมาติดต่อขอพบผู้ต้องหา และแม่กับพี่สาวรุ้งก็เดินทางมาถึง ปอท.เวลา 14.10 น.

Written By
More from pp
“สุริยะ” ซัด ฝ่ายค้าน จินตนาการไปเอง แลนด์บริดจ์ ไร้นักลงทุนสนใจ
22 มกราคม 2567  ที่กรมทางหลวงชนบทชุมพร จ.ชุมพร นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าและรับฟังการบรรยายสรุปโครงการดำเนินงานของหน่วยงาน โครงการแลนด์บริดจ์ MR8...
Read More
0 replies on “ปอท. รวบตัว ‘รุ้ง ปนัสยา’ ฐานความผิด ม.116 – พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์”