โฆษกรัฐบาลแจงอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) จ.นครราชสีมา ไม่แตก แต่ทำนบดินบริเวณก่อสร้างชำรุด เพราะรับปริมาณน้ำจำนวนมากจากฝนตกหนักขณะก่อสร้างอาคารและทางระบายน้ำ

โฆษกฯ แจงอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) จ.นครราชสีมา ไม่แตก แต่ทำนบดินบริเวณก่อสร้างชำรุด เพราะรับปริมาณน้ำจำนวนมากจากฝนตกหนักขณะก่อสร้างอาคารและทางระบายน้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน”นายก” สั่งกองทัพเร่งช่วยประชาชน

วันนี้ (29 ก.ย.64) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยกรณีมีการรายงานข่าวระบุอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาแตก ไม่เป็นความจริง

โดยอาคารและทางระบายน้ำ ซึ่งระหว่างการก่อสร้างร้อยละ 70   ช่วงที่ก่อสร้างได้ใช้ทำนบดินกั้นน้ำไว้ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกิน ทำนบดินบริเวณก่อสร้างชำรุด น้ำจึงไหลลงตรงที่ก่อสร้างทางประตูระบายน้ำ และไหลลงสู่ลำเชียงไกร ผ่านอำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง แล้วไหลลงลำน้ำมูลที่อำเภอพิมาย  ทั้งนี้  จังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ด้านท้ายอ่าง ให้ประชาชนอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เก็บสิ่งของขึ้นไว้บนที่สูงเรียบร้อยแล้ว

“ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาจากกรณีทำนบดินบริเวณก่อสร้างชำรุดแล้ว และถมดินเพื่อให้ทำนบดินฝั่งขวาเชื่อมกับประตูระบายน้ำล้น ซึ่งแผนการดำเนินการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 7 วัน ทั้งนี้ ท่านนายกฯ ได้ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนชาวโคราชทุกคน และสั่งการให้กองทัพ นำกำลังทหารเข้าช่วยอพยพประชาชนและขนย้ายสิ่งของ แล้ว ขอให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าติดตามการแจ้งเตือนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง โดยนายกรัฐมนตรีจะนำคณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำปริมณฑล  จ. นนทบุรี ในวันพรุ่งนี้ ด้วย ” นายธนกร กล่าว

Written By
More from pp
OR เปิดตัว “โอ้กะจู๋” รูปแบบ Drive – Thru สาขาแรก ใน พีทีที สเตชั่น เวสต์วิลเลจ บางใหญ่ เพิ่มทางเลือกอาหารสุขภาพแบบสะดวกรวดเร็ว
นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือOR พร้อมด้วย นายสมยศ คงประเวช...
Read More
0 replies on “โฆษกรัฐบาลแจงอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) จ.นครราชสีมา ไม่แตก แต่ทำนบดินบริเวณก่อสร้างชำรุด เพราะรับปริมาณน้ำจำนวนมากจากฝนตกหนักขณะก่อสร้างอาคารและทางระบายน้ำ”