UNESCO ประกาศให้ จ.เพชรบุรี ของไทยเป็นหนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ประจำปี 64 (UNESCO Creative Cities Network) ในด้านเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร หรือ City of Gastronomy

สำหรับจ.เพชรบุรี ถือเป็นเป็นเมือง 3 รส และเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศใน 3 อย่างคือ การผลิตเกลือ การปลูกและผลิตน้ำตาลจากตาลโตนด และเป็นแหล่งปลูกมะนาวที่รสชาติที่ดี่สุด

อีกทั้งยังเป็นแหล่งวัตถุดิบการทำอาหารที่เชื่อมโยงกับชุมชน-ธุรกิจการท่องเที่ยว มีภูมิปัญญาท้องถิ่น เอาผลผลิตที่ขึ้นชื่อในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายทั้งอาหารคาว หวาน เช่น แกงหัวตาล ตาลโตนด ยำหัวโตนด ต้มสีนวล (ต้มข่าไก่) แกงไก่บ้านหน่อไม้ดอง ขนมโตนดสุก ขนมหม้อแกง
ปัจจุบันประเทศไทยมีเมืองที่เข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว 4 เมือง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต กรุงเทพ และสุโขทัย ซึ่ง จ.เพชรบุรี ที่ได้เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารนั้น ถือเป็นเมืองที่ 2 ของไทยต่อจากภูเก็ตที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารเมื่อปี 2015
แกงคั่วหัวตาล – แกงพื้นถิ่นของชาวเพชรบุรี ใช้ลูกตาลอ่อนแกงกับเครื่องแกง กะทิ ปลาย่าง หรือเนื้อย่าง ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลโตนด
ขนมจีนทอดมัน – คู่อร่อยลงตัวระหว่างเส้นขนมจีนและทอดมัน ราดด้วยน้ำจิ้มรสหวานอมเปรี้ยว
ข้าวแช่ – ข้าวแช่เมืองเพชรแบบดั้งเดิมมีเครื่องเคียง 3 อย่าง คือ ลูกกะปิทอด หัวไชโป๊หวาน และปลายี่สุ่นผัดหวาน นิยมรับประทานในหน้าร้อนให้ความรู้สึกสดชื่น
ก๋วยเตี๋ยวน้ำแดง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปกลมกล่อมจากส่วนผสมของซีอิ๊ว น้ำตาลโตนด และน้ำต้มเนื้อ เสิร์ฟพร้อมซอสพริกสีแดงจากโรงงานท้องถิ่น
ขนมหม้อแกง – ของหวานจากน้ำตาลโตนด น้ำตาลคุณภาพดีจากต้นตาลในเพชรบุรี ให้รสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์
ขนมตาล – ขนมหวานยอดนิยมทำมาจากลูกตาลสุก ผสมแป้ง น้ำตาลโตนด กะทิ นำไปนึ่ง โรยด้วยมะพร้าวขูด รสชาติหวานอร่อย หอมกลิ่นตาล
ลอดช่องน้ำตาลข้น – ลอดช่องเคี้ยวหนุบหนึบ รับประทานกับน้ำกะทิ ราดน้ำตาลโตนด ท็อปปิ้งอีกชั้นด้วยไอศกรีมกะทิยิ่งอร่อย
ข้อมูล-ภาพ เพจเฟซบุ๊ก Amazing Thailand



Written By
More from pp
อบรมอัยการผู้ช่วย รุ่นที่ 64
นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรม “หลักสูตรการอบรมอัยการผู้ช่วย รุ่นที่ 64 พ.ศ. 2566 (สนามใหญ่)” ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยมี...
Read More
0 replies on “UNESCO ประกาศให้ จ.เพชรบุรี ของไทยเป็นหนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ประจำปี 64 (UNESCO Creative Cities Network) ในด้านเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร หรือ City of Gastronomy”