๒,๓๖๘ คน ที่เชียงใหม่-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ตื้นตันใจครับ…

วานนี้ (๑๔ มกราคม) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์

ไปในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒-๒๕๖๓ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๕๕  ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน ๒,๓๖๘ คน  จาก ๒๒ คณะ ๑ บัณฑิตวิทยาลัย และ ๑ สถาบัน โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก  นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  พร้อมด้วย

ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เฝ้าฯ รับเสด็จ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นไปอย่างราบรื่นเหมือนทุกปีที่ผ่านมา

เห็นภาพถ่ายผู้สำเร็จการศึกษานั่งเต็มหอประชุม ตื้นตันแทนพ่อแม่ผู้ปกครองครับ

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ จะมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๓ และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส ใจความตอนหนึ่งว่า

 “…ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับเป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่าไม่ว่าประเทศใดๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง…”

พิธีสำเร็จการศึกษานี้ เริ่มจัดใน สหรัฐอเมริกาหรือหลายประเทศในทวีปยุโรป ต่อมาแทบทุกประเทศทั่วโลกต่างก็มีพิธีนี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน

สำหรับประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการสำเร็จการศึกษาของนิสิตนักศึกษา มาตั้งแต่ยุคแรกๆ

การที่พระบรมวงศ์คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จฯ แทนพระองค์ ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยต่างๆ สืบเนื่องจากการให้ความสำคัญกับการศึกษาไทย

แต่น่าเสียดายที่คนรุ่นหลัง ลืมรากเหง้า มองวัฒนธรรมชาติตัวเองเป็นเรื่องล้าหลัง และต้องการยกเลิกสิ่งที่สร้างมาร่วมร้อยปี

ข้อมูลจากหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยามเอาไว้ดังนี้ครับ

“ด้วยวันที่ ๒๕ ตุลาคมศกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้เป็นครั้งแรกอันพึงบังเกิดขึ้นในประเทศสยาม สำนักท่านเป็นสำนักศึกษาแห่งหนึ่ง ถ้าท่านสนใจในเรื่องนี้จะแต่งผู้แทนไปประชุมในการนี้แล้ว มหาวิทยาลัยยินดีต้อนรับ และขอเชิญไป  ณ ตึกมหาวิทยาลัยด้านถนนสนามม้า เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา…”

จดหมายเชิญฉบับนี้มหาวิทยาลัยส่งไปยังหน่วยงาน ๑๑  แห่ง มีอาทิ

สยามโซไซเอตี

อัลลิยะอังซ์ ฟรังเซส์

โซซิเอตา อันเตลิเฆียรี

กรมยุทธศึกษาทหารบก

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

สภากาชาดสยาม

วชิรพยาบาล

มหามงกุฎราชวิทยาลัย

ราชบัณฑิตยสภา

กรมร่างกฎหมาย

และโรงเรียนกฎหมาย

ผู้ที่ได้รับเชิญครั้งนั้นมีหลายกลุ่ม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ  กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชและคมนาคม กระทรวงวัง กรมราชเลขาธิการ กรมพระคลังข้างที่  เอกอัครราชทูตของประเทศที่ส่งมาประจำในประเทศไทย  อาจารย์พิเศษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์เก่า  บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และผู้เกื้อหนุนโรงพยาบาลศิริราช  พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตหรือแพทยศาสตรบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีขึ้นที่ห้องซึ่งอยู่ชั้นบน ด้านสนามม้า (ตึก ๑ คณะอักษรศาสตร์ในปัจจุบัน) ของมหาวิทยาลัย

จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในประเทศไทย เป็นงานที่สำคัญ ให้เกียรติผู้สำเร็จการศึกษาอย่างมาก

ปัจจุบันการที่พระบรมวงศ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ไปในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยต่างๆ คือการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามนี้จากอดีตมิให้จางหายไป

คือการให้เกียรติผู้สำเร็จการศึกษา

ฉะนั้นคนรุ่นใหม่บางกลุ่มพึงรู้ไว้ อย่าตกเป็นเหยื่อของคนชั่วคิดทำลายชาติ ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการต่อต้านการรับปริญญาบัตร

เหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดจากเครือข่ายล้มล้างสถาบันต้องการปลุกกระแสนำไปสู่สิ่งที่ตัวเองต้องการ

ใช้โครงข่ายในโซเชียลเคลื่อนไหวสอดรับกัน

วันสองวันมานี้ สมศักดิ์ เจียม เคลื่อนไหวกรณี พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถี่ยิบ ร่วมกับเพจล้มเจ้า

โดยทางตรงหรือทางอ้อม “ปิยบุตร แสงกนกกุล” ก็เป็นหนึ่งในการชิงการนำทางความคิด จากโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่  ๑๒ มกราคมที่ผ่านมา

…ประเทศนี้มีปัญหาหลายเรื่อง จำเป็นต้องพูดทุกเรื่องเพื่อให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหา

แต่โจทย์ของปี ๒๕๖๕ ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องทำให้การพูดเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กลายเป็นเรื่องปกติ หรือที่คำภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Normalization”

ทำให้การพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ เป็นประเด็นสาธารณะ  เป็นเรื่องที่ต้องปฏิรูป เหมือนที่ต้องพูดเรื่อง การปฏิรูปกองทัพ การปฏิรูประบบราชการ ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ การปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งองคาพยพ หรือแม้แต่พูดเรื่องการจัดการทุนผูกขาด ฯลฯ…

ครับ…นี่คือภาพรวมการเคลื่อนไหว ในปี ๒๕๖๕ เพื่อลดความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ลง

แต่…ปี ๒๕๖๕ จะเป็นปีที่ประชาชนที่ยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แสดงให้เห็นถึงความภักดีมากกว่าปีก่อนๆ เช่นกัน

เช่นที่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน ๒,๓๖๘ คน เพิ่งทำไป



Written By
More from pp
รมว.แรงงาน ชี้แจงช่วยเหลือดูแลลูกจ้างบริลเลียนท์ฯ เต็มที่ ไม่เทแน่นอน
รมว.แรงงาน ชี้แจงกรณีลูกจ้างบริลเลียนท์ฯ ยื่นหนังสือถึงท่านนายกรัฐมนตรี ขอให้ช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง พร้อมยืนยัน ดูแลลูกจ้างอย่างเต็มที่ เน้นย้ำต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานโดยด่วน
Read More
0 replies on “๒,๓๖๘ คน ที่เชียงใหม่-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();