รองโฆษกรัฐบาล ย้ำอีกครั้ง! ภาษีที่ดินปี 65-66 จัดเก็บอัตราคงเดิม แต่ไม่ลด 90% บ้านและพื้นที่เกษตรยังได้บรรเทา

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำอีกครั้ง! ภาษีที่ดินปี 65-66 จัดเก็บอัตราคงเดิม แต่ไม่ลด 90% บ้านและพื้นที่เกษตรยังได้บรรเทา

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีการแชร์ข้อมูลคลาดเคลื่อนในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการจัดเก็บภาษี

จึงขอแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า รัฐบาลได้ประกาศคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีภาษี 2565-2566 ในอัตราเช่นเดียวกับปี 2563-2564 แต่ไม่มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90% เหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ผู้เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษีในหลายกรณี อาทิ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมจะได้รับยกเว้นภาษี

ทั้งนี้ การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565 เมื่อคำนวณได้เท่าไร จะต้องจ่ายเต็มจำนวน เนื่องจากกระทรวงการคลังมองว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งจากที่มีการลดภาษีที่ดินฯ ลง 90% ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ ทำให้รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ขาดรายได้ไปพัฒนาพื้นที่

นางสาวรัชดา ยังเผยว่า ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ต้องประกาศอัตราภาษีที่จะใช้จัดเก็บในปี 2565 เนื่องจากอัตราภาษีเดิมที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะปี 2563 – 2564 แต่ด้วยความเข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลจึงคงอัตราภาษีที่ดินฯ แบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563-2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับผู้เสียภาษี และเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้มีระยะเวลาในการปรับตัวสำหรับการชำระภาษีในอัตราที่แท้จริง

ซึ่งในปี 2565 นี้ ผู้เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษีหลายกรณี ได้แก่ 1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี 2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่  1 มกราคม จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท

3) กรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ก็จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือไม่เกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่สำหรับบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท หรือเกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะเสียภาษีเต็มอัตราเฉพาะส่วนที่เกินเท่านั้น

4) การผ่อนปรนภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีกรณีมีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูงกว่าค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยชำระในปี 2562 จะบรรเทาภาระให้โดยเสียภาษีเท่ากับค่าภาษีปี 2562 บวกกับร้อยละ 75 ของส่วนต่างค่าภาษีปี 2565 กับปี 2562



Written By
More from pp
ดำรง พุฒตาล เล่าผ่านไลน์ ว่าด้วยเรื่อง “เลือกตั้งอเมริกา เมื่อปลายฝนต้นหนาว”
ดำรง พุฒตาล ผมมัวไปหลงใหลได้ปลื้มกับ “ปลายฝนต้นหนาว” ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศเรา ทำให้ไม่ได้เล่าเรื่องผ่านไลน์ ใน www.plewseengern.com มาเกือบสามสัปดาห์แล้ว
Read More
0 replies on “รองโฆษกรัฐบาล ย้ำอีกครั้ง! ภาษีที่ดินปี 65-66 จัดเก็บอัตราคงเดิม แต่ไม่ลด 90% บ้านและพื้นที่เกษตรยังได้บรรเทา”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();