แผนล้มรัฐบาล – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

มาว่ากันเรื่องวิชาการกันหน่อย

“พฤติกรรม” หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งที่มากระตุ้น อาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกกระตุ้นมาแล้วระยะหนึ่ง

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมได้แก่ ยีน และสิ่งแวดล้อม

พฤติกรรมจำแนกออกเป็น ๒ ประเภทคือ

๑.พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิด เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์  สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนเดียวกัน ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนโดยการเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์

๒.พฤติกรรมการเรียนรู้ สามารถปรับเปลี่ยนได้อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ ไม่ใช่เกิดจากการที่สัตว์มีอายุมากขึ้น ก็คือ แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน นั่นแหละครับ

สัตว์ที่ว่านี้หมายรวมถึงมนุษย์ด้วยนะครับ

ทำไมถึงยกเรื่องนี้ขึ้นมา?

ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ แค่อยากคุยเรื่องนักการเมือง ที่กำลังแสดงพฤติกรรมบางอย่างอยู่

จะเรียกว่า พฤติกรรมตามฤดูกาลก็ได้

อย่างสุนัขเป็นสัดเฉลี่ยปีละ ๒ ครั้ง ใช้เวลาประมาณ  ๖ เดือน

เดิมทีเรียกกันว่า “หมาเดือนสิบสอง”

แต่ไม่ได้เกี่ยวกับฤดูกาล ฝน แล้ง หนาว หรอกครับ

ที่จริงคือ สุนัขจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ ๘-๑๒ เดือน เป็นต้นไป ทั้งตัวผู้และตัวเมีย และเมื่อเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์น้องหมาก็จะเริ่มมีภาวะเป็นสัด

นักการเมืองก็มีฤดูกาลเหมือนกัน และคล้ายสุนัข ฤดูกาลที่ว่าไม่ได้เกี่ยวกับ ฝน แล้ง หนาว แต่มันมาตามวาระที่จะต้องมา

หลักๆ ก็ช่วงก่อนมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

วันนี้ขยายภาวะความเป็นสัด ไปถึงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี

เดิมทีร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ มีวัฒนธรรมในการโหวตเสียงที่แตกต่างไปจากร่างกฎหมายอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง

ฝ่ายค้านมักจะโหวตงดออกเสียง

หรือไม่ก็ไม่ร่วมโหวต

หาคนที่โหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณแทบจะไม่ได้

แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงลากทุกอย่างเข้ารกเข้าพง มองทุกเรื่องเป็นความขัดแย้ง บานปลายมาถึงเงินของประเทศ

การโหวตวาระที่ ๓ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี ๒๕๖๓  มีองค์ประชุมทั้งหมด ๒๖๑ คน ลงมติเห็นด้วย ๒๕๗ ไม่เห็นด้วย ๑ งดออกเสียง ๓

มาถึงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี ๒๕๖๔ สภามีมติเห็นชอบ ๒๖๙ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๐ เสียง งดออกเสียง ๑๒๑  เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ๖ เสียง

จะเห็นว่าพฤติกรรมการโหวตเสียงเริ่มเปลี่ยน

ไปดูการโหวตครั้งล่าสุดคือร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี  ๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ปี ๒๕๖๔ มีจำนวน ส.ส.เข้าร่วมประชุม ๔๕๑ คน จากจำนวน ๔๘๒ คน

ผลการลงมติ เห็นชอบ ๒๕๗ เสียง

ไม่เห็นชอบ ๑๘๙ เสียง

งดออกเสียง ๔ เสียง

และไม่ลงคะแนน ๑ เสียง

งบประมาณปี ๒๕๖๔ พรรคก้าวไกลโหวตสวนพรรคเดียว

ปีถัดมาเพื่อไทยผสมโรงโหวตคว่ำด้วย

เพื่อความชัดเจนไปดูการโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ปีนั้นสภาโหวตผ่านด้วยเสียง ๒๗๙ ต่อ ๘ งดออกเสียง ๑๒๗ เสียง

งดออกเสียงคือเสียงของฝ่ายค้านที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์

นั่นคือมารยาททางการเมือง ที่ปฏิบัติกันมานาน

มาวันนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว

และอาจเปลี่ยนไปตลอดกาล

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณจะถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย

เมื่อไหร่ก็ตามที่มีรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ โอกาสที่ นายกฯ จะยุบสภาลาออก เพราะแพ้โหวตนั้นมีสูงมาก

นั่นหมายความว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ จะคลอดช้าเป็นไตรมาส

ปีไหนที่งบประมาณมีปัญหา เพราะมีการเบิกจ่ายหมดเกลี้ยงก่อนสิ้นปีงบประมาณ ปีนั้นคือหายนะของประเทศ

อย่าคิดว่าจะไม่เกิดกรณีแบบนี้ขึ้น ให้ดูวิกฤตจากโรคระบาดโควิด-๑๙ เป็นตัวอย่าง

หาเงินกันแทบไม่ทัน

ทีนี้มาเข้าเรื่องครับ ฝ่ายค้านโดย “หมอชลน่าน” บอกว่า

“…บทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.งบฯ จะไม่ผ่าน ก็สามารถใช้งบประมาณเดิม คือ  พ.ร.บ.งบฯ ๖๕ ไปพลางก่อน เว้นแต่เป็นเรื่องงบลงทุนที่จะสร้างใหม่

ดังนั้นแผนงานโครงการต่างๆ ที่เป็นเรื่องประจำก็สามารถทำได้ต่อ แต่ไม่อนุญาตให้เอาไปลงทุนในสิ่งที่เห็นว่าไม่ชอบ ถ้าหากปล่อยไปอาจจะกระทบต่อพี่น้องประชาชนมากกว่า

ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน  เพราะการไม่ให้ผ่านอาจจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า และปล่อยให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาจัดสรรงบประมาณแทน…”

สรุปง่ายๆ คือ พรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายล้มรัฐบาลโดยใช้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเป็นเครื่องมือ

หากย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนเมษายน “หมอชลน่าน” พูดถึงดีล ๓๐ ส.ส. สำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านจะยื่นเร็วๆ นี้

เพื่อล้มรัฐบาลมาแล้วครั้งหนึ่ง

๓๐ ส.ส.มาจากไหน?

วันนี้มีข่าวเคลื่อนไหวกันคึกคักในพรรคเศรษฐกิจไทย

“ธรรมนัส พรหมเผ่า” ประกาศไว้น่ากลัวทีเดียว

“อย่าลืมว่า ผมมีพี่น้องเยอะ ที่นั่งอยู่ฝ่ายรัฐบาล ส่วนฝ่ายค้านนั้นไม่ต้องพูดถึง”

มีการพูดถึง ๔๐ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลว่าพร้อมที่จะโหวตสวนรัฐบาล

ทำไมต้องเป็น ๔๐ ส.ส.

ตัวเลขกลมๆ ปัจจุบันรัฐบาลมี ๒๗๐ ที่นั่ง ฝ่ายค้าน ๒๐๘ ที่นั่ง

ลดฝ่ายรัฐบาลไป ๔๐ ก็จะเหลือ ๒๓๐ เสียง

เอา ๔๐ เสียง ไปเพิ่มให้ฝ่ายค้านก็จะกลายเป็น ๒๔๘ เสียง

ทุบโต๊ะดังปัง!

นี่ไงล้มรัฐบาลได้แล้ว

แต่เดี๋ยวก่อน “ธรรมนัส” มีกี่เสียง

เห็นข่าวแวบๆ มีการเคลื่อนไหวล่ารายชื่อ ส.ส.ได้ทั้งสิ้น ๑๘ คน

ประกอบไปด้วย ส.ส.จากพรรคการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคในขั้วรัฐบาล

กลุ่ม ส.ส.ที่แยกตัวมาจากพรรคการเมืองเดิม ที่ถูกมองว่าเป็นงูเห่า

รวมไปถึง ส.ส.กลุ่ม ๑๖ เดิม ที่มี “พิเชษฐ สถิรชวาล”  เป็นแกนนำ คาดว่ากลุ่มนี้พร้อมจะผนึกรวมกำลังกับ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทย ของกลุ่มธรรมนัส ตัวเลขกลมๆ ขณะนี้ ๒๐ คน

ก็เฉียด ๔๐ ครับ

แต่ก็มีคำถามครับ ส.ส.ปัดเศษหลายคน แทบจะไม่มีโอกาสกลับมาอีกในการเลือกตั้งครั้งหน้า ต้องเลือกว่าอยู่เป็น ส.ส.ต่ออีกกว่าครึ่งปี

กับบีบให้นายกฯ ยุบสภาแล้วไปลุ้นเลือกตั้งใหม่ที่แทบไม่มีโอกาสกลับมา ส.ส.พรรคเล็กเหล่านี้จะเลือกอะไร

หรือมีคนดูแลตลอดชีวิตไม่เดือดร้อนเรื่องปัจจัยแล้ว  แบบนี้ก็มีโอกาสที่รัฐบาลจะถูกคว่ำครับ

แต่เกมการเมืองมันซับซ้อนกว่านั้น เป็นธรรมชาติช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือฤดูกาลงบประมาณ มักจะมีนักการเมืองหัวใสออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องความสนใจ  บางคนอยากกินกล้วย

แต่ที่แย่ไปกว่านั้น พรรคเพื่อไทย กำลังยืมมือ คนที่พรรคเพื่อไทยเปิดซักฟอกเรื่องคดียาเสพติดในต่างประเทศ  ด่าเขาว่าเป็นรัฐมนตรีแป้ง เพื่อล้มรัฐบาล เปิดทางให้ตัวเองเข้าสู่อำนาจ

นี่แหละครับแผนล้มรัฐบาล

ช่างน่าอัปยศจริงๆ



Written By
More from pp
“นพดล ปัทมะ” หวัง รัฐสภาร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย สร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศ
6 ตุลาคม 2563 นายนพดล ปัทมะ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หวังว่ารัฐสภาจะโหวตรับหลักการญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้ตั้ง ส.ส.ร. และเชื่อว่าในใจสมาชิกรัฐสภาคงจะมองข้ามประโยชน์ส่วนตนในปัจจุบัน ไปยังประโยชน์ส่วนรวมในอนาคต
Read More
0 replies on “แผนล้มรัฐบาล – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();