‘ชัชชาติ’ กับ ม.๑๑๒ – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ทำหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม.เถอะครับ

ครับ…ฝากไปถึง “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ว่า คนกรุงเทพฯ  ๑.๓๘ ล้านคะแนน ไม่ได้เลือกให้เป็นแนวร่วมม็อบล้มล้างสถาบัน ไม่ได้เลือกเพื่อให้ไปยกเลิก ม.๑๑๒

แต่เลือกไปเป็นผู้ว่าฯ กทม.

ฉะนั้นนับจากนี้ไป ทำงานที่ต้องทำ ไม่ใช่แค้นสุมอก รอเวลาชำระ

เรื่องที่ “ชัชชาติ” ไปขึ้นเวที “ตลาด (นัด) ราษฎร​” ที่สวนครูองุ่น ซอยทองหล่อ ๓ วานซืน (๒๙ พฤษภาคม  ๒๕๖๕) มีหลายประเด็นต้องพูดถึง

“ชัชชาติ” ไปเอง หรือถูกเชิญไป

ประเด็นนี้สำคัญ เพราะเกี่ยวโยงกับประเด็นที่ “ชัชชาติ”  พูดบนเวที

หาก “ชัชชาติ” ไปเอง ก็ยิ่งน่าสนใจ เพราะสามารถประเมินได้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า อาจต้องเจอคำถามอะไรบ้างจากพลพรรคสามนิ้ว

เพราะหัวข้อที่เขาจะเสวนาคือ “TALK TALK เรื่องเล่า หลังกรงขัง” โดย จันทนา วรากรสกุลกิจ หรือซี และนายบุรินทร์ อินติน สองอดีตนักโทษการเมือง

ตามข่าวบอกว่า “ชัชชาติ” ไปปรากฏตัวในงาน ฉะนั้นเท่ากับว่า “ชัชชาติ” แวะไปเอง

เมื่อขึ้นบนเวที “ชัชชาติ” กล่าวว่า

“…บ้านผมอยู่แถวนี้ เดินผ่านไปมาตลอด และเห็นว่าพื้นที่สวนครูองุ่นเป็นพื้นที่ทรงคุณค่า และตามนโยบายของผมก็ให้ความสำคัญกับการจัดพื้นที่สาธารณะ

โดยจะมีการกระจายไปในหลายจุด โดยสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้

ส่วนตัวเห็นว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้หมายถึงชัยชนะของผม แต่หมายถึงชัยชนะของพวกเรามากกว่า ผมว่าเรามีพลังขึ้น และเชื่อว่าเวลาอยู่ข้างพวกเรา เชื่อว่าสถานการณ์จากนี้จะค่อยๆ ดีขึ้น

เราจะเริ่มที่กรุงเทพฯ ก่อน เช่น การแสดงความเห็นและการยอมรับความคิดเห็นต่างๆ โดยเริ่มต้นจากความหลากหลายทางเพศ คนมีหลายเฉดสี ความคิดเห็นทางการเมืองก็เช่นกัน…”

“ชัชชาติ” ใช้คำว่า “เรา”

ชัยชนะของพวกเรา ก็หมายความว่า ชัยชนะของเหล่าพลพรรคสามนิ้ว

และกลายเป็นประเด็นล่อแหลมขึ้นมาเมื่อ “รุ้ง-ปนัสยา  สิทธิจิรวัฒนกุล” ที่อยู่ระหว่างประกันตัวจากคดี ม.๑๑๒ จนถึงวันที่ ๑๕ มิถุนายนปีนี้ ขอให้ยกเลิกเงื่อนไขที่ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัว EM

แต่เงื่อนไขจะไม่ทำกิจกรรมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ออกนอกราชอาณาจักร ตลอดจนถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่ศาลกำหนดไว้นั้นยังคงอยู่

“รุ้ง” ถาม “ชัชชาติ” ถึงความเห็นการยกเลิก ม.๑๑๒

“ชัชชาติ” ตอบ

“…อย่าเอามาตรา ๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยก จริงๆ แล้วมันมีมานานแล้ว

ผมมองในแง่ผู้บริหาร การบริหารมันต้องมีความละมุนละม่อมในระดับหนึ่ง มันมีวิธีการในการค่อยๆ ปรับ ถ้าเราบอกว่าจะยกเลิก มาตรา ๑๑๒ ผมว่ามันจะไปอีกขั้วนึง ฉะนั้นเริ่มจากการไม่เอา มาตรา ๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เอาตรงนี้ก่อน แล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆ พัฒนาไป เราเป็นผู้บริหารมันต้องมีวิธีในการสื่อสาร

ผมก็อดทนมา ๘ ปี ตั้งแต่ปฏิวัติมา แต่เราต้องมียุทธศาสตร์ในการเดิน เขาบอกว่า อันนี้อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้นะ ภาษาอังกฤษว่า The revenge is best when served  cold. การแก้แค้นจะดีที่สุดเมื่อตอนที่มันเย็นแล้ว อย่าไปเอาความโกรธความแค้นมาทำ การกำหนด strategy ในการเดิน

ผมเชื่อว่ามียุทธศาสตร์ในการเดิน แล้วเวลาก็อยู่ข้างพวกเราแล้ว ผมว่าเรื่อง ๑๑๒ นาทีนี้คุณบอกให้ยกเลิก ในความเป็นจริงไม่ง่าย แต่ขออย่าเอามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เริ่มประเด็นนี้ก่อนดีมั้ย แล้วเดี๋ยวมันก็เป็นสเตปต่อไป”

เมื่อ “ชัชชาติ” เดินขึ้นเวทีเอง ไม่มีใครไปดันก้น ก็แสดงว่าพร้อมที่จะรับผลที่ตามมาด้วย

ก็แน่นอนครับ ทัวร์ลง

ทั้งจากศาสดาสามนิ้วที่อยู่ต่างประเทศ มองว่า “ชัชชาติ” ไม่กล้าแตะ ม.๑๑๒ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อาจเป็นความหวังของเด็กๆ สามนิ้วได้

อีกฝั่งมองว่า “ชัชชาติ” ล้ำเส้น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการกลับมาเพื่อแก้แค้น

และมีบางส่วนมองว่าเป็นการพูดแบบกลางๆ ไม่ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจน

หากแกะคำพูดของ “ชัชชาติ” ให้ลึกลงไป ก็พบว่าน่าสนใจอยู่หลายประเด็น

ไม่เอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

มองกลางๆ ก็ถูกต้องครับ ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ควรเอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แต่ที่ควรอธิบายเพิ่มคือ ใครเป็นคนเอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือ

คนที่ทำผิด ม.๑๑๒ แบบจงใจทำผิดเพราะทำผิด  ม.๑๑๒ ซ้ำซาก คือคนที่เอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือหรือไม่

ถ้าใช่ก็จะโยงไปถึงการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.๑๑๒

เจ้าหน้าที่รัฐคือคนที่เอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือเปล่า

หรือผู้ไปร้องว่ามีคนทำผิด ม.๑๑๒ คือคนที่เอา ม.๑๑๒ มาเป็นเครื่องมือทางการเมืองใช่หรือไม่

ฉะนั้นประเด็นนี้ต้องชัดเจน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ บังคับใช้มานานแล้ว ปัญหาแทบไม่เกิด เพราะไม่มีใครทำผิดกฎหมายมาตรานี้

แต่เพิ่งจะมีอย่างชุกชุมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง

เหตุผลหลักเพราะมีขบวนการล้มล้างสถาบัน เข้ามาสร้างชุดความคิดที่บิดเบือนความเป็นจริง ฝังเข้าไปในหัวเด็กรุ่นใหม่

เราจึงเห็นผู้ต้องหาอายุน้อยจำนวนมาก ติดคุกแทนผู้บงการที่นั่งอยู่ในห้องแอร์ บางส่วนเป็นผีเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศ

“ชัชชาติ” บอกว่า “เดี๋ยวมันจะค่อยๆ พัฒนาไป” หมายถึงอะไร

ความหมายที่ “ชัชชาติ” พูดคือการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.๑๑๒ จะพัฒนาไปสู่การยกเลิก ม.๑๑๒ ในที่สุดใช่หรือเปล่า

ยุทธศาสตร์ของ “ชัชชาติ” คืออะไร

อย่าลืมซิครับ ประชาชนเลือกมาให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่ผู้ให้บริการม็อบ

แต่เมื่อ “ชัชชาติ” เผยความในใจ อดทนมา ๘ ปี ก็พอเข้าใจได้ครับว่า วันข้างหน้าของ “ชัชชาติ” ไม่ได้โฟกัสไปที่ตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.เพียงอย่างเดียว

“การแก้แค้นจะดีที่สุดเมื่อตอนที่มันเย็นแล้ว” คนที่คิดเช่นนี้ น่ากลัวครับ

น่ากลัวกว่าพวกแค้นแล้วฟาดงวงฟาดงามาก

เพราะการรอคอยการแก้แค้นอย่างใจเย็น ย่อมมาพร้อมกับการวางแผนที่แยบยล เพื่อให้การแก้แค้นประสบความสำเร็จ

ก็ไม่ทราบครับว่า “ชัชชาติ” ต้องการแก้แค้นใคร

คณะรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม หรือใครที่นอกเหนือจากนี้

ประโยค “ผมเชื่อว่ามียุทธศาสตร์ในการเดิน แล้วเวลาก็อยู่ข้างพวกเราแล้ว” นี่ “ชัชชาติ” แสดงความเป็นพวกกับม็อบสามนิ้วอย่างชัดเจน

รับรู้ด้วยว่าสามนิ้วต้องการอะไร

และนำไปสู่อะไร

ครับ…คำแนะนำที่อาจกลายเป็น “เสือก”! “ชัชชาติ” เร่งทำตามนโยบาย ๒๑๔ ข้อจะดีกว่าวางแผนล้างแค้นใคร

ฉะนั้นสเตปต่อไปของ “ชัชชาติ” ก็เลือกเอา

strategy เพื่อคนกรุง

หรือจะล้างแค้น



Written By
More from pp
เพราะบังอาจทะลุฟ้า – ผักกาดหอม
ผักกาดหอม เดินทะลุฟ้าจากโคราชเข้ากรุง ๒๔๗.๕ กิโลเมตร             บางคนมาถึงเมืองกรุงและเดินเข้าเรือนจำ หลายคนเดินไปทำเนียบรัฐบาล ตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ปักหลักชุมนุม มีข้อเรียกร้อง ๓ ข้อคือ
Read More
0 replies on “‘ชัชชาติ’ กับ ม.๑๑๒ – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();