ระบายแค้นผ่านงบ – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

เป็นไปตามคาด

เวทีอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ถูกใช้เป็นเวทีซักฟอกรัฐบาล เวทีหาเสียงของ ส.ส. รวมทั้งเป็นเวทีฝึกอภิปรายของ ส.ส.ใหม่

มันเป็นแบบนี้มาพักใหญ่แล้ว

แต่พักหลังมานี้กลายเป็นเวทีโจมตีสถาบันอื่นนอกเหนือจากสถาบันทางการเมืองด้วย

สังเกตจากการอภิปรายของ ส.ส.ฝ่ายค้านบางคน มีเนื้อหามิได้มุ่งไปที่ตัวงบประมาณ แต่พุ่งตรงไปที่หน่วยงานราชการ โดยมีนัยทางการเมือง

เพราะมองว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นเครื่องมือทางการเมือง

คำอภิปรายที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือ คำอภิปรายของ “อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ได้พูดถึงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รนม.) ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และศาลรัฐธรรมนูญ

“…งบ กอ.รมน.ควรตัด เพราะไม่เห็นว่ามีความสำคัญอะไรนอกจากจะทำหน้าที่เป็นไอโอ

ส่วนงบของตำรวจตระเวนชายแดนก็ต้องปรับ เพราะหน่วยงานนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นเพื่อหลอกตาองค์กรระหว่างประเทศในการเลี่ยงใช้คำว่าทหารมาใช้คำว่าตำรวจ คือตัวเป็นตำรวจ แต่ปฏิบัติภารกิจทหาร

ซึ่งขณะนี้แนวชายแดนมีบริบทที่ต่างออกไปจากยุคสงครามเย็นอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นยุคของการสู้รบด้วยไอที

ดังนั้น จะจัดงบแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อภารกิจที่ลดลงก็จำเป็นต้องจัดงบประมาณให้เหมาะสม ตชด.ได้รับงบประมาณปี ๒๕๖๖ จำนวน ๒,๗๘๒ ล้าน มากเทียบเท่ากับงบหน่วยงานตำรวจขนาดใหญ่รวมกันถึง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ ตำรวจนครบาลได้ ๑,๒๐๐ ล้านบาท ตำรวจภูธรภาค ๑ จำนวน ๘๐๐ ล้านบาท และภูธรภาค ๒ จำนวน ๘๐๐ ล้านบาท…”

“…สิ่งสำคัญคืองบศาลรัฐธรรมนูญที่ควรถูกตัดออกไปทั้งก้อน ๑๐๐% เพราะงานที่ออกมานอกจากจะไม่สามารถสร้างข้อยุติความขัดแย้งการตีความกฎหมายแล้ว

ยังมีคำวินิจฉัยมากมายที่ไม่เป็นที่ยอมรับและสร้างความขัดแย้งให้สังคม ศาลที่ไม่เข้าใจว่า “ปฏิรูป” กับ “ปฏิเสธ” ว่ามีความต่างกันอย่างไร ไม่เข้าใจว่า “ปฏิรูป” กับ “ล้มล้าง” ต่างกันอย่างไร

องค์กรเช่นนี้ไม่สมควรเรียกว่าศาล นอกจากนี้ เมื่อมีหน้าที่ตัดสินคดีการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องถูกวิจารณ์ได้ หากวิจารณ์ไม่ได้ก็ไม่สมควรดำรงอยู่ฉุดรั้งความเจริญของประชาธิปไตยไทยอีกต่อไป…”

ทั้ง ๓ หน่วยงานนี้กลายเป็นปีศาจในความคิดของ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านหลายๆ คน

ก่อนนี้ กอ.รมน.ถูกตั้งคำถามโดย “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” เพราะมองว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายอนุรักษนิยม เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

“ธนาธร” มองว่า กอ.รมน.มีกรอบคิดมองประชาชนเป็นศัตรู

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่?

กอ.รมน.ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๑๖ ปรับเปลี่ยนมาจาก กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์

หน่วยข่าวกรองของสหรัฐ (ซีไอเอ) มีบทบาทอย่างมากในการก่อรูปของ กอ.รมน. ไทยกับอเมริกาในช่วงเวลานั้นมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ต่อต้านคอมมิวนิสต์

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน บทบาทของ กอ.รมน. ก็ถูกปรับเปลี่ยน จากต่อต้านคอมมิวนิสต์ มารักษาความมั่นคงจากภัยอื่้นๆ แทน นั่นทำให้ กอ.รมน.จัดตั้งองค์กรมารับภารกิจหลายองค์กร อาทิ

โครงการประชาชนมีส่วนร่วม

ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านใจรักษ์แผ่นดิน

โครงการเพชรในตม

ชมรมผู้นำชุมชนมุสลิม

ชมรมคาทอลิกรักษาความมั่นคงภายใน

สมาคมนักธุรกิจรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

สมาคมนักธุรกิจไทย-ซิกข์รักษาความมั่นคงภายใน

ไทยอาสาป้องกันชาติ

เป็นต้น

และทั้งหมดนี้ถูก “ธนาธร” และพวกมองว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายอนุรักษนิยม

มาถึง ตชด. “อมรัตน์” พูดถูกครับ ตั้งขึ้นมายุคสงครามเย็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์

ตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งขึ้นในปี ๒๔๙๔ กำหนดคุณสมบัติหลักๆ ไว้ ๓ ประการ

๑.สามารถทำการรบได้อย่างทหาร

๒.สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ

๓.สามารถดำเนินการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน

หลังหมดภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ เพราะนโยบาย ๖๖/๒๓ บทบาทของ ตชด.ก็ปรับเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับ กอ.รมน.

หลักๆ ก็ตามนี้ครับ…

๑.การถวายความปลอดภัยและการสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ

การถวายความปลอดภัยถือเป็นภารกิจสูงสุดที่ตํารวจตระเวนชายแดนจะต้องปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสมพระเกียรติ

การสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริในทุกโครงการที่หน่วยรับผิดชอบ จะต้องมีการดําเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

มีการพัฒนาแนวทางการดําเนินงานให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ และขยายผลการดําเนินการไปในพื้นที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง

๒.การป้องกันรักษาสถานการณ์ชายแดนและการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง

๓.การรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ได้แก่ การป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมสําคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่งคงและผลประโยชน์ของชาติตามแนวชายแดน

โดยเฉพาะการสกัดกั้นการลักลอบลําเลียงยาเสพติด ตรวจสอบแหล่งผลิตยาเสพติด และแหล่งเพาะปลูกพืชเสพติด เป็นต้น

๔.การพัฒนาช่วยเหลือประชาชนเพื่อความมั่นคง ให้การสนับสนุนศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดําเนินงานพัฒนาช่วยเหลือประชาชนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่รับผิดชอบ

๕.งานโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน ได้แก่ การดําเนินงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

๖.การปฏิบัติการพิเศษและกิจการพิเศษ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ การพัฒนาขีดความสามารถและความพร้อมของตํารวจตระเวนชายแดนในการป้องกัน ปราบปรามการก่อความไม่สงบ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.๒๕๕๘

ครับ…ที่ผ่านมา ตชด.ถูกนำมาใช้ควบคุมม็อบ ได้สร้างความไม่พอใจให้กับมวลชนสามนิ้วมาเป็นระยะ

และหน้าที่การถวายความปลอดภัย การสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นักการเมืองบางคนรู้สึกว่า “ไม่จำเป็น”

สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญ แน่นอนว่า พรรคก้าวไกลมีเป้าหมายยุบศาลรัฐธรรมนูญมานานแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่เป็นคุณกับพรรคก้าวไกล-อนาคตใหม่ แต่หลายคดีก็เป็นโทษ

ประเด็นคือนักการเมืองกลุ่มนี้โทษศาลรัฐธรรมนูญว่าวินิจฉัยไม่เป็นธรรม แต่กลับไม่มองย้อนพฤติกรรมตัวเองว่า ทำผิดกฎหมายหรือไม่

ฉะนั้นคำอภิปรายถึง กอ.รมน. ตชด. ศาลรัฐธรรมนูญ มีนัยการเมืองอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณสักเท่าไหร่

ส่วนจะเป็นอะไร…ผู้คนสังคมก็รู้ดีอยู่แล้ว



Written By
More from pp
นายกฯ ย้ำ การบุกรุกป่าอุทยานฯ ไม่ว่าจำนวนกี่ไร่ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย
22 กุมภาพันธ์ 2567  เวลา 11.00 น. บริเวณชั้น 1 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ...
Read More
0 replies on “ระบายแค้นผ่านงบ – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();